‘ทีมนักวิจัย ม.เกษตรศาสตร์ สกลนคร’ เปิดตัว ‘เครื่องหนังโพนยางคำ’ เครื่องหนังย้อมด้วยสีครามธรรมชาติ ทำด้วยมือ สื่อสีด้วยคราม

Pon Yang Kam

จากเศษหนังที่เหลือจากกระบวนการผลิตโคเนื้อคุณภาพสูง ของสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จังหวัดสกลนคร หรือที่รู้จักในชื่อ Thai-French Beef เนื้อโคขุนโพนยางคำ ผลิตภัณฑ์ GI จังหวัดสกลนคร และการแข่งขันทางการตลาดหนังโค ของประเทศเพื่อนบ้านเอเชีย ได้แก่ อินเดีย สีลังกา อินโดนีเซีย ทำให้มูลค่าหนังโคในประเทศไทยมีมูลค่าต่ำลง ส่งผลให้โอกาสการส่งออกหนังวัวไปต่างปะเทศน้อยลง จากเดิมมูลค่าหนังโคสดกิโลกรัมละ 70 บาท ปัจจุบันราคาหนังโคในประเทศไทยอยู่ที่ราคา 10-15 บาท

จากเหตุผลดังกล่าวทำให้ ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร นำโดย หัวหน้าโครงการวิจัย ดร.ประภากรณ์ แสงวิจิตร รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ได้คิดโครงการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มหนังโค โดยผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและความเชี่ยวชาญการย้อมสีครามธรรมชาติที่เป็นเทคนิคการย้อมสีธรรมชาติที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุน FTA กรมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ในปี 2564 จากการนำหนังโคขุนโพนยางคำ มาย้อมครามสีธรรมชาติภายใต้สภาวะการย้อมที่เหมาะสม และได้ออกแบบเครื่องหนังกระเป๋า และได้ถ่ายทอดองค์ความรู้การย้อมหนังด้วยสีครามธรรมชาติ เทคนิคการตัดเย็บเครื่องหนัง ให้กับลูกหลานสมาชิกสหกรณ์โพนยางคำ จำนวน 30 ราย และได้เริ่มทำการตลาดเพื่อจำหน่ายสินค้าเครื่องหนังเหล่านี้โดยศูนย์จำหน่ายหลักคือผ่านสหกรณ์โพนยางคำ สกลนคร และจำหน่ายผ่านออนไลน์ Facebook : เครื่องหนังย้อมคราม โพนยางคำ และ Instragram : pone_yangkham

 

Pon Yang Kam Pon Yang Kam

 ดร.ประภากรณ์ แสงวิจิตร หัวหน้าโครงการวิจัย เผยว่า “จุดเด่นของเครื่องหนังย้อมสีครามธรรมชาตินี้ มาจากองค์ความรู้ผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่นเดิมของสกลนคร ที่มีฐานความรู้เรื่องการย้อมเย็นจากต้นคราม อย่างที่เราทราบกันในปัจจุบันสีครามจะมาจากสีครามธรรมชาติและครามสังเคราะห์ ในส่วนสีครามธรรมชาตินี้ตามสมัยโบราณจะนำเสื้อผ้ามาย้อมสีครามธรรมชาติ เพราะด้วยเป็นสีที่มีความคงทน เป็นสีที่เป็นเอกลักษณ์ของโทนสีคราม ในจังหวัดสกลนครมีถ่ายทอดองค์ความรู้การปลูกต้นคราม การก่อหม้อ และการย้อมผ้าด้วยครามธรรมชาติกันมานาน การย้อมหนังก็เช่นกันเป็นการย้อมสีครามธรรมชาติบนหนังโคในสภาวะที่เหมาะสม จากวัตถุดิบธรรมชาติเพื่อการเตรียมน้ำย้อมครามที่จะสามารถย้อมเครื่องหนังให้ได้สีคราม”

 

Pon Yang Kam Pon Yang Kam Pon Yang Kam

“ความยากของงานนี้คือการที่ต้องปรับจาก การย้อมครามบนผ้ามาเป็นการย้อมหนังแทน และการศึกษาครั้งนี้นักวิจัยต้องกำหนดสภาวะที่ต้องใช้กระบวนการธรรมชาติทั้งหมดเพื่อการย้อมสีคราม ทีมนักวิจัยได้ใช้เวลาพอสมควรในการหาสภาวะที่เหมาะสมแล้วเป็นกระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความเข้มของสีที่เปลี่ยนไปก็มาจากสภาวะความเป็นกรดเป็นด่าง งานวิจัยการย้อมหนังโค นี้ได้พัฒนารูปแบบการก่อหม้อย้อมคราม จากโบราณการย้อมผ้าครามต้องใช้เวลา 7-14 วัน ตั้งแต่การก่อหม้อจนได้สีครามและย้อมผ้าคราม พัฒนามาให้สามารถที่จะก่อหม้อเพียง 1 วัน ก็สามารถย้อมหนังโคได้ อีกทั้งเพื่อการควบคุมคุณภาพของสีคราม เราได้เพิ่มเติมกระบวนการง่ายๆ เพื่อการสังเกตลักษณะทางเคมีและกายภาพของสีคราม ด้วยการตรวจวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำย้อม (สูตรโบราณจะทำการทดสอบด้วยการชิมรสเค็มของน้ำย้อม)” ดร.ประภากรณ์ กล่าวปิดท้าย

Leave a Reply

error: Content is protected !!