หัวเว่ยเปิดฉาก ‘HUAWEI CONNECT 2022’ งานมหกรรมประจำปีระดับโลกด้านเทคโนโลยีไอซีที ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 โดยเริ่มขึ้นวันนี้ ณ กรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิด ‘ปลดปล่อยพลังแห่งดิจิทัล’ (Unleash Digital) โดยรวบรวมผู้นำอุตสาหกรรมไอซีที รวมถึงผู้เชี่ยวชาญและพันธมิตรทั่วโลกกว่า 10,000 คนร่วมหารือแนวทางปลดล็อคศักยภาพด้านดิจิทัล, ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, และพัฒนาอีโคซิสเต็มดิจิทัลให้แข็งแกร่ง
ภายในงาน หัวเว่ยได้ร่วมแบ่งปันกลยุทธ์เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าด้านดิจิทัลในหลากหลายอุตสาหกรรม และเปิดตัวนวัตกรรมบริการคลาวด์ขั้นสูงใหม่กว่า 15 รายการสำหรับตลาดโลก
กลยุทธ์หลัก 3 ประการเพื่อผลักดันภาคอุตสาหกรรมให้ก้าวสู่ยุคดิจิทัล
นายเคน หู ประธานกรรมการบริหารหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย กล่าวปาฐกถาพิเศษเปิดงานโดยเน้นย้ำบทบาทสำคัญ 3 ประการของอีโคซิสเต็มด้านไอซีทีในการช่วยขจัดอุปสรรคระหว่างการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล
· สนับสนุนและผลักดันโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลรวมถึงเทคโนโลยีการเชื่อมต่อที่มีเสถียรภาพและทรัพยากรด้านการประมวลผลที่เสถียรและมีความหลากหลาย
· ส่งเสริมองค์กรรุดหน้าไปกว่าการใช้ระบบคลาวด์พื้นฐาน โดยดึงประโยชน์สูงสุดจากคลาวด์มาใช้ และมุ่งเน้นการบริการด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาแบบก้าวกระโดด
· สร้างอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัลในท้องถิ่น รวมถึงการพัฒนาพันธมิตร การเสริมความแข็งแกร่งของกลุ่มบุคลากรด้านดิจิทัล และให้การสนับสนุนเพิ่มเติมสำหรับเอสเอ็มอี
ในช่วงสองปีที่ผ่านมา การเติบโตของจีดีพีทั่วโลกไม่คงที่ มีเพียงเศรษฐกิจดิจิทัลเท่านั้นที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในระดับโลก หรือมากกว่า 15% ในปี พ.ศ. 2564 หลายองค์กรจึงพลิกโฉมการดำเนินงานและการให้บริการด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลล้ำสมัย
“การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลเป็นตัวเลือกที่ถูกต้อง เพราะมีความต้องการในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และเทคโนโลยีต่าง ๆ ก็พร้อมแล้ว ขณะนี้ ทั้งโลกพร้อมแล้วที่จะปลดปล่อยศักยภาพแห่งดิจิทัลออกมา” นายเคน หู กล่าวเสริม
การเปิดตัวหัวเว่ย คลาวด์ (Huawei Cloud Region) ในอินโดนีเซียพร้อมนวัตกรรมบริการใหม่กว่า 15 รายการ
นาย จาง ผิงอัน ประธานกรรมการบริหาร ธุรกิจ หัวเว่ย คลาวด์ ประกาศเปิดตัวหัวเว่ย คลาวด์ ระดับภูมิภาค (Huawei Cloud Regions) ในอินโดนีเซียและไอร์แลนด์ และภายในสิ้นปีพ.ศ. 2565 หัวเว่ย คลาวด์จะเปิดใช้งาน ศูนย์ข้อมูล (Availability Zone – AZ) 75 แห่งใน 29 ภูมิภาคทั่วโลก พร้อมให้บริการในประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ กว่า 170 แห่ง
นอกจากนี้ หัวเว่ย คลาวด์และพันธมิตรยังได้เปิดตัวแผนพัฒนาอีโคซิสเต็ม ‘ก้าวไปกับคลาวด์ ก้าวสู่ระดับโลก’ (Go Cloud, Go Global) โดยมุ่งเน้นกลยุทธ์ ‘นวัตกรรมบริการรอบด้าน’ (Everything as a Service) โดยแผนการดำเนินงานนี้จะเร่งการพัฒนาอีโคซิสเต็มของอุตสาหกรรมดิจิทัลทั่วโลกเพื่อผลักดันนวัตกรรมและความสำเร็จร่วมกัน
สืบเนื่องจากความร่วมมือนี้ แจ็กเกอลีน ซือ ประธานฝ่ายการตลาดและการขายระหว่างประเทศของหัวเว่ย คลาวด์ ประกาศเปิดตัวนวัตกรรมบริการขั้นสูงกว่า 15 รายการเป็นครั้งแรกในโลก รวมถึงคลัสเตอร์คลาวด์ความเร็วสูง (CCE Turbo), บริการคลาวด์เนทีฟแบบทุกหนทุกแห่ง (Ubiquitous Cloud Native Service – UCS), ตลอดจนโมเดล AI Pangu เพื่อประยุกต์ใช้กับการพยากรณ์คลื่นลมทะเล (Pangu wave model), รวมถึงบริการขั้นสูงอื่น ๆ อาทิ DataArts LakeFormation, Virtual Live, CodeCheck, CloudTest, KooMessage, KooSearch, และ KooGallery
ผลักดันอีโคซิสเต็มดิจิทัลในท้องถิ่นเพื่อความสำเร็จร่วมกัน
ภายในงาน หัวเว่ยตอกย้ำความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชน โดยจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อปลูกฝังอีโคซิสเต็มดิจิทัลในท้องถิ่นให้แข็งแกร่ง โดยการสร้างพันธมิตรด้านเทคโนโลยี, ส่งเสริมทักษะบุคลากรด้านดิจิทัล, และผลักดันธุรกิจสตาร์ทอัพ
นายไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหัวเว่ย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวปาฐกถาหัวข้อ ‘ระบบเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นดิจิทัลเป็นหลัก’ (Digital First Economy) โดยให้ข้อมูลเชิงลึกในข้อเสนอแนะด้านนโยบายการผลักดันโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่า “ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคือผู้นำของภูมิทัศน์ดิจิทัลทั่วโลก หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้สนับสนุนหลักด้านเศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก และพร้อมผลักดันการเข้าเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลตลอดจนส่งเสริมนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนและร่วมสร้างอีโคซิสเต็มอุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้”
นอกจากนี้ แขกผู้มีเกียรติผู้แทนรัฐบาลจากประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้ร่วมปราศรัยเพื่อแบ่งปันความคืบหน้าในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในแต่ละประเทศให้รุดหน้า อาทิ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน, นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม, นายอัยลางกา ฮาตาโต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงประสานงานด้านเศรษฐกิจสาธารณรัฐอินโดนีเซีย, นายมูฮัมหมัด อับดุล มานนาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนแห่งบังกลาเทศ, นาย เดวิด อัลมิรอล ผู้ช่วยรัฐมนตรีด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์, กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประเทศฟิลิปปินส์ และ ดร. หยาง มี เอง กรรมการบริหารมูลนิธิอาเซียน
มหกรรมเทคโนโลยีไอซีที ‘HUAWEI CONNECT 2022’ เปิดฉากการเดินสายจัดงานทั่วโลก โดยเริ่มที่กรุงเทพฯ เป็นเวลา 3 วัน ภายในงานดังกล่าวมีการกล่าวปาฐกถา 2 ครั้ง การประชุม 6 ครั้ง และการอภิปรายย่อยพร้อมการสาธิตเทคโนโลยีอีกมากมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเจาะลึกความท้าทายที่รัฐบาลและองค์กรต่าง ๆ ต้องเผชิญตลอดการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล รวมถึงการความรุดหน้าด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของหัวเว่ย และการจัดแสดงเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของบริการหัวเว่ย คลาวด์รวมถึงโซลูชันจากเหล่าพันธมิตรในอีโคซิสเต็ม
####################
เกี่ยวกับ HUAWEI CONNECT 2022
HUAWEI CONNECT คืองานประชุมใหญ่ประจำปีของหัวเว่ยที่จัดขึ้นเพื่ออุตสาหกรรมไอซีทีทั่วโลก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำหน้าที่เป็นเวทีแห่งการเปิดกว้างและการประสานความร่วมมือ ซึ่งเชิญชวนบรรดาผู้นำทางความคิด ผู้นำภาคธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค บริษัทผู้บุกเบิก พันธมิตรในระบบนิเวศ ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน และนักพัฒนา มารวมตัวกันเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนส่งเสริมอีโคซิสเต็มที่เปิดกว้างและแข็งแกร่งเพื่อความสำเร็จร่วมกัน HUAWEI CONNECT 2022 มีการเดินสายจัดงานไปทั่วโลก โดยเปิดฉากที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และจัดต่อเนื่องที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และปิดท้ายที่เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน เพื่อร่วมปล่อยพลังแห่งดิจิทัลไปพร้อมกับคุณ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ HUAWEI CONNECT ที่ https://www.huawei.com/en/events/huaweiconnect
เกี่ยวกับหัวเว่ย
หัวเว่ย ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และสมาร์ทดีไวซ์ ด้วยโซลูชันที่ผสมผสานในสี่กลุ่มหลัก คือ เครือข่ายโทรคมนาคม, ไอที, สมาร์ทดีไวซ์ และบริการคลาวด์ บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่การใช้งานทุกระดับเพื่อทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อขับเคลื่อน โลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ โซลูชันและบริการที่ครบวงจรของหัวเว่ยเปี่ยมด้วยศักยภาพด้านการแข่งขันและเชื่อถือได้ จากการทำงานร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศแบบเปิด หัวเว่ยสามารถสร้างมูลค่าระยะยาวให้กับลูกค้า เสริมสมรรถนะของผู้คน ช่วยให้การใช้ชีวิตที่บ้านมีความสะดวกสบาย และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร ทุกรูปแบบและทุกขนาด
นวัตกรรมของหัวเว่ยเน้นตอบสนองตามความต้องการของลูกค้า เราทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลในด้านการวิจัย เน้นค้นหานวัตกรรมด้านเทคนิคใหม่ๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนโลกของเราให้ก้าวไปข้างหน้า ด้วยพนักงานกว่า 194,000 คน ดำเนินธุรกิจในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก หัวเว่ยก่อตั้งขึ้นในปี 2530 และเป็นบริษัทเอกชนที่มีพนักงานเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหัวเว่ย ได้ที่ www.huawei.com