เจ้าของคาแรคเตอร์ปีศาจหลายตากับผลงานที่สะท้อนเอกลักษณ์อันน่าทึ่ง เขาถือเป็นศิลปินรุ่นใหม่ผู้มีฝีไม้ลายมือที่ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว เขามักหยิบเรื่องราวเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้คนในสังคมปัจจุบัน ผสมผสานกับเทคนิคจิตรกรรมสุดซับซ้อนและทีแปรงที่เนี๊ยบกริบ ผลงานของเขามักสะท้อนการสังเกตพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น การสื่อสารที่ไม่ตรงกันซึ่งบางครั้งทำให้เกิดการเข้าใจผิด การนินทา ความอยากรู้อยากเห็น ความเป็นจริงในสังคม เรื่องราวที่พบเจอในชีวิตประจำวัน ซึ่งศิลปินได้มองสังคมแล้วตีความออกมาในรูปแบบเฉพาะของตนเองอย่างตรงไปตรงมา สะท้อนส่วนหนึ่งในจิตใจของมนุษย์ทุกคนออกมา เช่น การขาดวิจารณญานในเรื่องราวต่างๆ โดยเล่าผ่านตัวละครที่เป็นปีศาจหลายตา ท่ามกลางบรรยากาศที่ดูอึมครึม แสงเงาตัดกันอย่างชัดเจนเพื่อขับเน้นตัวละครในภาพให้ดูโดดเด่นยิ่งขึ้น และมีการใช้เทคนิคทีแปรงที่เนี๊ยบกริบ ละเอียดลออในสไตล์ที่เขาชื่นชอบ
Facebook: TrendyGallery.Popart
นิทรรศการ KARMS ROOM 063 จัดโดย TRENDY GALLERY ชั้น 1 ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก เปิดให้ชมฟรีที่ห้อง 182 จนถึงวันที่ 30 กันยายน
*มีการจำกัดจำนวนผู้เข้าชมงานพร้อมกันในห้องนิทรรศการเพื่อมาตรการป้องกันโควิด
TRENDY GALLERY is proud to announce a solo exhibition by artist KARMS (Thammatat Saithong) The owner of the argus-eyed evil character with work that reflects his stunning identity is considered a young artist with extraordinary skills who always picks up stories about the behavior of people in today’s society and combines them with intricate painting techniques and the fine “painterly style” His work often reflects observations of human behavior, such as miscommunication, which sometimes leads to misunderstanding, gossip, curiosity, and reality in society. It also includes stories encountered in everyday life in which the artist looks at society and forthrightly interprets it in his own specific style, reflecting a part in the minds of every human being. An example of such is a lack of judgment in various stories by spinning them through a character, in this case, a demon with many eyes in the midst of a gloomy atmosphere. Shadows are clearly contrasted to accentuate the characters in the image as well as his detailed and favorite use of the “painterly style”