ดีป้า เผยผลสํารวจข้อมูลและประเมินสถานภาพอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้า ปี 2563 ชี้ภาพรวมอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 3.99 โดยมี COVID-19 เป็นตัวเร่งให้พฤติกรรมผู้ใช้บริการบิ๊กดาต้าใน การใช้งานข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ขณะที่ผู้พัฒนาและผลิตเทคโนโลยีต้องปรับเปลี่ยนแพลตฟอร์มการ ให้บริการบิ๊กดาต้าบนคลาวน์เพิ่มขึ้น ขณะที่คาดการณ์แนวโน้ม 3 ปี อุตสาหกรรมจะยังคงเติบโตต่อเนื่องในปี 2564- 2565 โดยผู้ประกอบการเริ่มให้ความสําคัญกับการบริหารจัดการ และเพิ่มการรักษาความปลอดภัยให้กับดาต้า หลัง ‘พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล’ จะมีผลบังคับใช้ในปี 2565 จากนั้นแนวโน้มการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมจะ เริ่มทรงตัวในปี 2566 เพราะมีการจัดเตรียมโครงการบิ๊กดาต้าในหลายภาคส่วนช่วงปีที่ผ่านมา
สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ร่วมกับ บริษัท แอทไวส คอนซัลติ้ง จํากัด เผยผลสํารวจ ข้อมูลและประเมินสถานภาพอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้า ประจําปี 2563 และคาดการณ์แนวโน้ม 3 ปี โดยครอบคลุม มูลค่าอุตสาหกรรมตามประเภทเทคโนโลยี ผู้ประกอบการ และกลุ่มอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมบิ๊กดาต้าขยายตัวต่อเนื่อง ควบคู่กับการให้บริการบนคลาวด์
ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อํานวยการใหญ่ ดีป้า เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้า ปี 2563 ขยายตัวร้อยละ 3.99 จากปีก่อน มีมูลค่าอุตสาหกรรมอยู่ที่ 13,703 ล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่าจากตลาด ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 1,610 ล้านบาท ตลาดซอฟต์แวร์ (Software) 4,176 ล้านบาท งานบริการด้านไอทีและ ธุรกิจ (IT/Business Service) 7,917 ล้านบาท ซึ่งอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้าจะยังคงเติบโตต่อเนื่องไปพร้อมกับการ ให้บริการบนคลาวด์ “สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้ใช้บริการ บิ๊กดาต้าในการใช้งานข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ผู้ให้บริการจําเป็นต้องมีการจัดเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นในปริมาณมาก และสามารถนําข้อมูลที่ได้มาประมวลผลและปรับใช้ได้ทันท่วงที ด้วยเหตุนี้จึงทําให้ผู้พัฒนาและผลิตเทคโนโลยี (Technology Vendor) ต้องปรับเปลี่ยนแพลตฟอร์มการให้บริการบิ๊กดาต้าบนคลาวน์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ตลาด ซอฟต์แวร์ และงานบริการยังคงเติบโตต่อเนื่อง เพราะยังมีการนําข้อมูลเข้ามาผ่านการประมวลผล เพื่อนําไปใช้งาน ต่อไป” ผู้อํานวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว
คาดการณ์แนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้า 3 ปีจากนี้ ดีป้า ประเมินว่า อุตสาหกรรมบิ๊กดาต้ามีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 0.19 และ 0.08 โดยมีมูลค่าอุตสาหกรรม อยู่ที่ 13,728 ล้านบาท และ 13,738 ล้านบาทในปี 2564 และ 2565 ตามลําดับ โดยผู้ประกอบการจะเริ่มให้ ความสําคัญกับการบริหารจัดการ และเพิ่มการรักษาความปลอดภัยให้กับดาต้า หลัง ‘พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วน บุคคล’ (Personal Data Protection Act: PDPA) จะมีผลบังคับใช้ในปี 2565 จากนั้นแนวโน้มการขยายตัวของ ภาคอุตสาหกรรมจะเริ่มทรงตัวในปี 2566 เนื่องจากช่วงปีที่ผ่านมามีการจัดเตรียมโครงการบิ๊กดาต้าในหลายภาค ส่วน ซง่ึ คาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตจะหดตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.00 และมีมูลค่าอุตสาหกรรมอยู่ที่ 13,474 ล้านบาท
“ผลสํารวจแสดงให้เห็นว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการนําเทคโนโลยีบิ๊กดาต้ามาประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา สินค้าและบริการมากขึ้น แม้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 แต่บิ๊กดาต้ายังเปิดโอกาสให้หลายอุตสาหกรรมเติบโต ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมการเงินและการประกันภัยอุตสาหกรรมค้าส่งและค้าปลีก อุตสาหกรรมการผลิต ทั้งหมวด สินค้าอุปโภคและบริโภค อุตสาหกรรมการขนส่ง และภาคการศึกษา รวมถึงการสนับสนุนโครงการต่าง ๆ จากภาครัฐในการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และนําข้อมูลไปใช้ พร้อมกันนี้ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มี แนวโน้มหันมาใช้เทคโนโลยีบิ๊กดาต้าในการรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่ง การทํางานจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเมื่อทํางานร่วมกับเทคโนโลยีอื่น อาทิ AI, IoT, Machine Learning และ 5G เพ่ือยกระดับประสบการณ์ผู้บริโภคพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการรูปแบบใหม”่ ผู้อํานวยการใหญ่ดีป้ากล่าว
ทั้งนี้ ดีป้า หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผลสํารวจข้อมูลและประเมินสถานภาพอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้า ประจําปี 2563 และคาดการณ์แนวโน้ม 3 ปีจะเป็นประโยชน์ในการใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา ตัดสินใจวางแผนธุรกิจ รับมือกับการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ที่ยังไม่เห็นบทสรุป และสามารถใช้เป็นข้อมูล ประกอบการกําหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลของรัฐบาลในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 13 ต่อไป