มูลนิธิพิทักษ์คชสาร ตามรอยศาสตร์พระราชา สู่โครงการ “งานที่ลงมือทำ เพื่อช้างคู่แผ่นดินคู่ศาสนา” อยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

มูลนิธิพิทักษ์คชสาร

 
“โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร -สัตว์ป่า และการฟื้นฟูแหล่งอาหารสัตว์ป่าประชาร่วมใจ ถวายในหลวง”

 

เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2563 ณ วัดเวฬุวัน จ.กาญจนบุรี มูลนิธิพิทักษ์คชสาร จัดการบรรยายเรื่อง “งานที่ลงมือทำ เพื่อช้างคู่แผ่นดินคู่ศาสนา” โดยมี หลวงปู่สาคร ธัมมาวุโธ เจ้าอาวาสวัดเวฬุวัน ในฐานะประธานมูลนิธิพิทักษ์คชสาร พร้อมนำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ติดตามงานใน “โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร – สัตว์ป่า และการฟื้นฟูแหล่งอาหารสัตว์ป่า ประชาร่วมใจ ถวายในหลวง” น้อมนำศาสตร์พระราชา หวังฟื้นฟูความชุ่มชื้นของฝืนป่า สู่การบริหารจัดการน้ำให้คน-สัตว์ป่าอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยยึดหลักดำเนินงานมาจากพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 ใจความสำคัญว่า “หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค และน้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำ คนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้…” เพราะ “น้ำคือชีวิต” ปัจจัยหลักในการดำเนินชีวิตเพื่อความอยู่รอดของคน สัตว์ และธรรมชาติ

 

มูลนิธิพิทักษ์คชสารมูลนิธิพิทักษ์คชสารมูลนิธิพิทักษ์คชสาร

โดยมีคุณหฤทัย คงควร รองประธานกรรมการมูลนิธิพิทักษ์คชสาร กล่าวที่มาและวัตถุประสงค์ของ “โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร – สัตว์ป่า และการฟื้นฟูแหล่งอาหารสัตว์ป่าประชาชนร่วมใจ ถวายในหลวง” สืบเนื่องมาจากการเฝ้าสังเกตและติดตามของหลวงปู่สาคร ในเขต อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี มาตั้งแต่ปลายปี 2521 ได้พบเห็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นที่ การใช้ประโยชน์จากผืนป่าโดยไม่ระมัดระวัง ขาดความรู้ การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปโดยขาดระบบแบบแผนที่ดี พื้นที่หากินเดิมในป่าไม่เพียงพอ เนื่องจากพื้นที่ป่าถูกบุกรุก กลายเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำการเกษตรของชาวบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ทำให้สัตว์ป่ามีแหล่งน้ำ และแหล่งอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงต้องอพยพเพื่อหาแหล่งน้ำ แหล่งอาหารแห่งใหม่เรื่อยๆ ในการดำรงชีวิตและสืบพันธุ์ โดยเฉพาะช้างป่าที่ต้องการอาหารปริมาณมากในแต่ละวัน ปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างคนกับช้างป่าจากการบุกรุกที่ทำกิน การแย่งชิงแหล่งน้ำ การขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จากสภาพปัญหาเหล่านี้ จึงเป็นเรื่องยากที่ทางราชการจะเข้ามาช่วยเหลือแก้ไขได้ทันท่วงที ด้วยข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ กำลังคน ข้อปฏิบัติและอื่นๆ อีกมากมาย

 

มูลนิธิพิทักษ์คชสารมูลนิธิพิทักษ์คชสาร

ดังนั้นหลวงปู่สาคร ธัมมาวุโธ ในฐานะประธานมูลนิธิพิทักษ์คชสาร จึงได้จัดหาวิธีการช่วยเหลือบรรเทาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น จากความร่วมมือร่วมใจของบรรดาลูกศิษย์ที่มีความรู้ความสามารถ ดำเนินการช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน ตลอดจนเป็นการทำความดีเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลตอบแทนบุญคุณแผ่นดินและถวายองค์ในหลวงทั้งสองรัชกาล ดังนั้น “โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร – สัตว์ป่า และการฟื้นฟูแหล่งอาหารสัตว์ป่า ประชาร่วมใจ ถวายในหลวง” จึงถูกจัดตั้งขึ้นมา โดยโครงการฯ ได้กำหนดเป็น 4 ระยะ ในเวลา 4 ปี ครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบล คือ ตำบลห้วยเขย่ง, ตำบลท่าขนุน, ตำบลหินดาด, ตำบลลิ่นถิ่น

 

มูลนิธิพิทักษ์คชสาร มูลนิธิพิทักษ์คชสาร

โดยมีเป้าหมายโครงการเพื่อบริหารจัดการ ฟื้นฟู ปรับปรุง แก้ไขสภาพแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดินให้เพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภคของคนและสัตว์ป่า ดำเนินการจัดสร้างแหล่งกักเก็บน้ำ ฝายกึ่งสระซอยซีเมนต์, ฝายชะลอความชุ่มชื้น, บ่อบาดาลน้ำตื้นเพื่อการอุปโภค – บริโภค – การเกษตร, โรงผลิตน้ำดื่มจากน้ำบาดาล, การปลูกป่าพืชพรรณ – อาหารสัตว์, การฟื้นฟูสภาพป่าเพื่อสร้างแหล่งอาหารของสัตว์ป่าและช้างป่า, ปรับปรุงและฟื้นฟูสภาพความชุ่มชื้นของผืนป่าให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ด้วยตัวเองอีกครั้ง

รวมถึงการปลูกป่าทดแทนเพื่อสร้างแหล่งอาหารของสัตว์ป่าและช้างป่าตามธรรมชาติอย่างพอเพียงในพื้นที่ที่ปลอดภัย ตลอดจนการถ่ายทอด ส่งเสริม สนับสนุนการประกอบอาชีพตามแนวทางศาสตร์พระราชา เพื่อให้ชาวบ้านสามารถสร้างรายได้ตลอดทั้งปี เพื่อให้สัตว์ป่า ช้างป่า และชาวบ้านที่อาศัยอยู่หรือใกล้เคียงกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติ สามารถใช้พื้นที่หากินร่วมกันได้อย่างสมเหตุสมผลและเป็นธรรม อีกทั้งยังสร้างความผูกพัน ระหว่างคนกับช้างป่าให้อยู่ร่วมกันได้อย่างผาสุก

 

มูลนิธิพิทักษ์คชสารมูลนิธิพิทักษ์คชสาร

ทางมูลนิธิพิทักษ์คชสาร ใน “โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร – สัตว์ป่า และการฟื้นฟูแหล่งอาหารสัตว์ป่า ประชาร่วมใจ ถวายในหลวง” ได้ทำการจัดสร้างแหล่งกักเก็บน้ำกระจายอยู่ตามผืนป่าในเขตพื้นที่เขาลวก อุทยานแห่งชาติไทรโยค จำนวน 7 เเห่ง เพื่อบริหารจัดการแหล่งน้ำในธรรมชาติ และปล่อยพันธุ์ปลาเพื่อสร้างแหล่งอาหารให้สัตว์ป่า ช้างป่าอีกทางนึงด้วย เป็นอีกหนึ่งวิถีทางลดผลกระทบระหว่างคนกับช้างป่า เข้ามาบุกรุกบ้านเรือน และรักษาสมดุลย์ของระบบนิเวศน์ธรรมชาติให้คงอยู่ร่วมกันไปอีกนาน

 

มูลนิธิพิทักษ์คชสารมูลนิธิพิทักษ์คชสาร มูลนิธิพิทักษ์คชสารมูลนิธิพิทักษ์คชสาร

ในส่วนแหล่งน้ำภาคชุมชน ทางมูลนิธิพิทักษ์คชสารได้จัดทำโครงการขยายบ่อน้ำเพื่อการเกษตรพอเพียง ให้แก่ “โรงเรียนสมาคมป่าไม้แห่งประเทศไทยอุทิศ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการอุปโภค และเพาะปลูกพืชพรรณทางการเกษตรในโครงการเศรษฐกิจพอเพียงภายในโรงเรียน จากการขาดงบประมาณของทางโรงเรียน และประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้ง เดือนธันวาคม – พฤษภาคม ของทุกปี อันเนื่องมาจากเป็นพื้นที่สูง มีสภาพพื้นดินที่น้ำซึมผ่านได้ง่ายไม่สามารถกักเก็บน้ำได้เป็นระยะเวลานาน ดังนั้นหลวงปู่สาคร ธัมมาวุโธ จึงเข้ามาดำเนินการช่วยเหลือในเรื่องการออกแบบจัดสร้างบ่อกักเก็บน้ำที่สามารถรองรับน้ำได้ถึง 1,000 คิว โดยมีต้นน้ำมาจากแหล่งธรรมชาติ และได้มีการวางแผนต่อยอดเพื่อใช้เป็นแหล่งผลิตน้ำดื่มสะอาดที่ถูกสุขอนามัย ปลอดภัย เพื่อใช้ในการบริโภคภายในโรงเรียนต่อไป

 

มูลนิธิพิทักษ์คชสาร

[คนกับช้างป่าอยู่ร่วมกันได้ แค่เข้าใจและพัฒนาแหล่งอาหาร]

“…ช้างป่าควรอยู่ในป่า เพียงต้องทำให้ป่านั้นมีสารอาหารเพียงพอ 
คือการสร้างอาหารให้ช้างป่ากระจายให้ทั่วป่า
การปฏิบัติ คือ การให้ไปสร้างอาหารในป่าเป็นแปลงเล็กๆ และกระจาย 
ต้องให้ความปลอดภัยกับช้างป่าที่ออกมาชายป่า…”

พระราชดํารัสในหลวง ร.๙ พระราชทานเมื่อวันที่ 5 กรกฏาคม 2542

ติดตามรายละเอียดโครงการ มูลนิธิพิทักษ์คชสาร ได้ที่ Facebook: มูลนิธิพิทักษ์คชสาร  หรือ วัดเวฬุวัน อ.ทองผาภูมิ กาญจนบุรี ได้ที่ Facebook: วัดเวฬุวัน

 

Leave a Reply