EVAT นำ 2 ค่ายใหญ่ยานยนต์ไฟฟ้า MG และ CHANGAN ย้ำ! ทุนจีนผลิต EV ในประเทศไทยไม่ใช่ศูนย์เหรียญ

EVAT

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 นายวรากร กติกาวงศ์ ประธานฝ่ายสื่อสารองค์กรสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) นำ 2 ค่ายยักษ์ใหญ่ยานยนต์ไฟฟ้าเอ็มจี และ ฉางอัน มาตอกย้ำว่าทุนจีนที่มาประกอบกิจการยานยนต์ไฟฟ้า(อีวี) ในประเทศไทยไม่ใช่ศูนย์เหรียญ โดยครั้งนี้มี นายสุโรจน์ แสงสนิท รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์ – ซีพี จำกัด (SAIC MOTOR – CP) หรือ ผู้ผลิตรถเอ็มจี (MG) และ ดร.อรรถวิทย์ เตชะวิบูลย์วงศ์ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท ฉางอาน ออโต้ เซ้าท์อีส เอเชีย จำกัด (CHANGAN AUTO SOUTHEAST ASIA CO., LTD.) ร่วมชี้แจง กรณีที่มีกระแสข่าวออกมาว่าทุนจีนทำให้เศรษฐกิจไทยภาคการผลิตตกต่ำ และเป็นศูนย์เหรียญ

EVAT

EVAT

นายวรากร กติกาวงศ์ ประธานฝ่าย สื่อสารองค์กรของสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย หรือ EVAT กล่าวว่า “ในนามของสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยได้เชิญผู้บริหารของค่ายรถยนต์ไฟฟ้าทั้ง 2 ท่าน เข้ามาร่วมพูดคุยกัน ขออธิบายเพิ่มเติมในเรื่องของศูนย์เหรียญ ศูนย์เหรียญคือการนำนักท่องเที่ยวจีนเข้ามา ทานข้าวไปร้านอาหารสถานที่ต่างๆโดยเป็นกลุ่มเป็นแพ็คของคนจีน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้คนไทยจะไม่ได้ประโยชน์อะไรจากศูนย์เหรียญ แต่มีกระแสข่าวออกมาว่า “ทุนจีนที่ทำ EV ไม่ต่างทัวร์ศูนย์เหรียญ” ทำลายเศรษฐกิจไทย อันนี้ขอชี้แจงไม่ใช่อย่างแน่นอน เพราะการสร้างโรงงานผลิตรถไฟฟ้ามีการซื้อที่ดินมูลค่าเป็นพันๆล้าน ที่ดินที่ประเทศไทยมีภาษีและเรื่องของแรงงาน แรงงานเป็นคนไทย ฉางอันและเอ็มจีมีการจ้างงานมากกว่า 1,000 คน ไม่ได้เอาคนจีนมาทำงานในประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ไม่ใช่เป็นเรื่องของศูนย์เหรียญอย่างที่เข้าใจกัน”

EVAT

นายสุโรจน์ แสงสนิท รองประธานกรรมการบริหารบริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์ – ซีพี จำกัด (SAIC MOTOR – CP) หรือ ผู้ผลิตรถเอ็มจี (MG) กล่าวว่า “ปีนี้เป็นปีที่ 11 แล้วที่ MG ตั้งอยู่ในประเทศไทย มีพื้นที่โรงงาน 437 ไร่ ซื้อพื้นที่แล้วก่อสร้างโรงงานขึ้น มีพนักงานคนไทย ณ วันนี้ก็ประมาณ 1,300 คน พนักงานคนจีนอยู่ประมาณ 30 กว่าคน ในทางกฎหมายของไทยรถยนต์ที่ผลิตในประเทศไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้ารถน้ำมันจะต้องมีการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ (Local Content) ไม่น้อยกว่า 40% หมายความว่าเราต้องเผื่ออัตราแลกเปลี่ยนด้วย ดังนั้นต้องใช้วัตถุดิบภายในประเทศกว่า 45% จึงจะเรียกว่าจุดที่สบายใจ รถทุกชนิดที่ผลิตในเมืองไทยต้องผ่านกฎหมายเดียวกัน รถไฟฟ้าตอนนี้เริ่มผลิตในประเทศแล้ว 2 ยี่ห้อ จากทั้งหมดที่ตั้งโรงงานแล้ว 5 ยี่ห้อในปัจจุบัน เริ่มขายแล้วตั้งแต่เดือนมกราคมเพราะฉะนั้นเ เขาก็ต้องผ่านมาตรฐานกฎหมายไทยเงื่อนไขการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ (Local Content) ไม่น้อยกว่า 40% ในส่วนของเอ็มจีจะมีการเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าในงานมอเตอร์โชว์ปีนี้ด้วย เราก็ต้องทำตามกฎหมายนี้เช่นกัน ผู้ผลิตชิ้นส่วนให้กับเอ็มจีมีหลายประเทศ ไม่เคยคิดถึงสัญชาติว่าจะต้องผลิตจากสัญชาติใดเป็นหลัก บริษัทไทยซัมมิท บริษัทของคนไทย ก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่รับผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าให้กับเอ็มจี รถยนต์ไฟฟ้าเอ็มจีที่จะเปิดตัวในงานมอเตอร์โชว์เดือนนี้ ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ (Local Content) ไม่น้อยกว่า 40% มากกว่า 17 ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศไทย รวมถึงแบตเตอรี่ ก็ประกอบในประเทศไทย

EVAT

ดร.อรรถวิทย์ เตชะวิบูลย์วงศ์ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท ฉางอาน ออโต้ เซ้าท์อีส เอเชีย จำกัด (CHANGAN AUTO SOUTHEAST ASIA CO., LTD.) กล่าวว่า “ในส่วนของฉางอัน เข้ามาในประเทศไทยได้รับการชักชวนจากรัฐบาลไทย มีการคุยกับทางบริษัทแม่หลายรอบซึ่งใช้เวลานานบริษัทจึงตัดสินใจตามคำเชิญของรัฐบาล เข้ามาตามกระบวนการที่ถูกต้อง มีแผนชัดเจนโดยเข้ามาทำการตลาดก่อน การนำเข้ารถยนต์ก็ผ่านการใช้สิทธิ์ตามมาตรฐานของจีนตามที่มีมาก่อนหน้านี้ ซึ่งอนุญาติให้เอารถไฟฟ้าจากจีนเข้ามาในประเทศไทยโดยเสียภาษีที่ 0% ในการลดอัตราภาษีนำเข้าเหลือ 0% ส่วนภาษีสรรพสามิตเสียตามเกณฑ์ถ้าเป็นรถนำเข้า มีการซื้อที่ดินของที่นิคมอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง 250 ไร่ ก่อสร้างโรงงานเสร็จประมาณสิ้นปี แล้วก็เริ่มเดินสายกันในต้นปีหน้า จากคำว่าศูนย์เหรียญ ถ้าเห็นกระบวนการผลิตถูกต้องตามกฎระเบียบตามกฎหมายการลงทุนจริง มีการอัดฉีดเงิน ลงมาในเศรษฐกิจของประเทศไทยจริงในส่วนของการผลิตตามขั้นตอน ขอชี้แจงว่าไม่เป็นความจริงที่จะมาเป็นศูนย์เหรียญ ขอตำหนิคนที่มาให้ข่าวว่าEVเป็นศูนย์เหรียญ ประเทศไทยเรามีนโยบายต้องการเป็นเบอร์ 1 ในการผลิตรถไฟฟ้าในอาเซียนเหมือนกัน ดังนั้นนี้คือสาเหตุที่ประเทศไทยเข้าร่วมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า การออกมาบอกว่าEVประเทศไทยเป็นศูนย์ เหรียญเป็นการไม่ส่งเสริมประเทศเลย เพราะนอกจากประเทศไทยแล้วประเทศในอาเซียนเองก็พยายามดึงจีนให้ไปลงทุน การที่เข้าไปมีส่วนร่วม คนไทยก็มีส่วนร่วมในการที่ดึงให้เกิดเม็ดเงินลงทุนนี้เข้ามาทั้งภาครัฐภาคและเอกชนต่างๆ

Leave a Reply

error: Content is protected !!