กพร. เปิดตัว “เครื่องคัดแยกซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์” แห่งแรกในไทย ชูต้นแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ดันภาคอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน

Innovation in Raw Materials Conference 2024กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) เปิดตัวเครื่องคัดแยกซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ผ่านกระบวนการทางความร้อน ประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นแห่งแรกในประเทศไทย พร้อมถ่ายทอดต้นแบบให้ภาคอุตสาหกรรมนำไปประยุกต์ใช้ มุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และสังคมคาร์บอนต่ำ สร้างความยั่งยืนให้ภาคอุตสาหกรรม ในงานสัมมนาวิชาการประจำปีของ กพร. Innovation in Raw Materials Conference 2024: Innovation Synergy Driving Circular Economy ผสานพลังนวัตกรรมนำความคิด ยกระดับเศรษฐกิจหมุนเวียนInnovation in Raw Materials Conference 2024วันนี้ (28 พฤศจิกายน 2567) ดร.อดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาวิชาการ “Innovation in Raw Materials Conference 2024: Innovation Synergy Driving Circular Economy ผสานพลังนวัตกรรมนำความคิด ยกระดับเศรษฐกิจหมุนเวียน” ของ กพร. ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิล อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยกล่าวว่า เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) จึงได้ผลักดันเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์และมูลค่าเพิ่มสูงสุด ตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งสอดรับกับนโยบาย MIND ของ กระทรวงอุตสาหกกรรมที่มุ่งพัฒนา “อุตสาหกรรมดี อยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน” และสอดคล้องกับแนวคิดในการเปลี่ยนขยะเป็นทรัพยากร หรือที่เรียกว่า “การทำเหมืองแร่ในเมือง (Urban Mining)” ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาขยะหรือของเสียทั้งจากภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือนได้อย่างยั่งยืน สามารถสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับสังคม และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ จากการเปลี่ยน Waste to Value ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีInnovation in Raw Materials Conference 2024 Innovation in Raw Materials Conference 2024ที่ผ่านมา กพร. ได้ดำเนินการส่งเสริม พัฒนา และยกระดับผู้ประกอบการด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้มีการประยุกต์ใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนในองค์กรอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน กพร. ได้สร้างสรรค์เทคโนโลยีรีไซเคิลและนวัตกรรมวัตถุดิบ รวมกว่า 85 ชนิด โดยได้ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการ นักลงทุน และผู้ที่สนใจ เฉลี่ยกว่า 400 รายต่อปี สร้างธุรกิจใหม่ (Start-up) และช่วยยกระดับผู้ประกอบการ (หรือ Level-up) ให้มีความสามารถก้าวทันโลกและเติบโตได้อย่างยั่งยืน

ผลงานที่สำคัญในปีนี้ กพร. ได้ขยายผลและต่อยอดผลงานที่ผ่านมา จนกระทั่งได้ออกแบบและพัฒนา “เครื่องคัดแยกซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ผ่านกระบวนการทางความร้อน” โดยสามารถคัดแยกส่วนประกอบต่าง ๆ ในซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ผ่านกระบวนการทางความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถคัดแยกวัตถุดิบกลับมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าร้อยละ 80 ได้แก่ ลวดนำไฟฟ้า เศษกระจก และแผ่นซิลิกอนที่มีโลหะเงินเป็นองค์ประกอบ ซึ่งเครื่องคัดแยกนี้นับเป็นเครื่องจักรต้นแบบเครื่องแรกในประเทศไทย

“ความสำเร็จครั้งนี้ จะช่วยให้ กพร. เป็น “ศูนย์การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีรีไซเคิลซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ครบวงจร” เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรีไซเคิลซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และจะช่วยแก้ไขปัญหาซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศที่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้น จากหลักพันตันต่อปี เป็นหลักหมื่นตันต่อปี ภายในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า” ดร.อดิทัต กล่าวInnovation in Raw Materials Conference 2024Innovation in Raw Materials Conference 2024Innovation in Raw Materials Conference 2024นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างผลงานที่ประสบความสำเร็จในปีนี้ เช่น การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบในการคัดแยก Black Mass และวัสดุจากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนเสื่อมสภาพที่ใช้ในยานยนต์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารถคัดแยก Black Mass คุณภาพสูงจากแบตเตอรี่ฯ ได้กว่าร้อยละ 90 เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการรีไซเคิลโลหะต่อไป ซึ่งตอบโจทย์ที่ประเทศไทยกำลังมุ่งเน้นการเป็นศูนย์กลางด้านการผลิตและใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) ในยุคยานยนต์สมัยใหม่ที่ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตามรายงานของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) การพัฒนาวัตถุดิบคุณภาพสูงเพื่อเพิ่มมูลค่าแร่ โดยได้พัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีการสังเคราะห์ซีโอไลต์ 13 เอ็กซ์ (Zeolite13X) จากหินพอตเทอรี สำหรับใช้เป็นวัสดุดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สำหรับอุตสาหกรรมผลิตก๊าซและอาหารแปรรูป จากหินพอตเทอรี 300 บาทต่อตัน เมื่อผลิตเป็น Zeolite13X จะมีราคากว่า 200,000 บาทต่อตัน การพัฒนาสถานประกอบการให้มีการประยุกต์ใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนในองค์กร เช่น การ Upcycle เศษไม้พาเลท และเศษไม้ Pressboard ที่ใช้ในการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า โดยนำมาผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์และของใช้ โดยผลการดำเนินงานในปีนี้ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้ถึง 1,000 ล้านบาทต่อปี และได้มีส่วนร่วมในการลดคาร์บอนได้กว่า 19,600 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปีInnovation in Raw Materials Conference 2024 Innovation in Raw Materials Conference 2024สำหรับงานสัมมนาวิชาการ “Innovation Synergy Driving Circular Economy ผสานพลังนวัตกรรมนำความคิด ยกระดับเศรษฐกิจหมุนเวียน” ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันนวัตกรรมและเทคโนโลยีสู่การผลิตวัตถุดิบ (ทดแทน/ขั้นสูง) ในเชิงพาณิชย์ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาองค์กร โดยมีการบรรยายมาตรฐานใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน การสร้างนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และได้รับเกียรติจากบริษัทที่มีการดำเนินงานที่ดีในด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน มาร่วมบรรยาย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมทั้งมีการเผยแพร่นวัตกรรมและผลงานวิจัยที่ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการเผยแพร่ตัวอย่างการดำเนินงานของสถานประกอบการที่มีการดำเนินการดีเด่นด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ทั้งนี้ สามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการสัมมนาหรือติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://innovation.dpim.go.th

Leave a Reply