Tagged: วันฮีโมฟีเลียโลก

  • โรช ไทยแลนด์

    ‘โรช ไทยแลนด์’ แบ่งเบาภาระผู้ดูแล โดยร่วมกับ SCB ขยายโอกาสเข้าถึงการรักษาแก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งและฮีโมฟีเลีย

    บริษัท โรช ไทยแลนด์ จำกัด ผู้นำระดับโลกในอุตสาหกรรมยาเพื่อการดูแลสุขภาพและการรักษาแบบจำเพาะบุคคล ประกาศจับมือกับธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) นำร่องบริการสินเชื่อค่าผลิตภัณฑ์รักษาโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) หวังแบ่งเบาความกังวลด้านภาระค่าใช้จ่ายและเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ภายใต้โครงการ Roche Patient Support Solutions (RPSS) สินเชื่อค่าผลิตภัณฑ์รักษาโรคมะเร็ง และฮีโมฟีเลีย ซึ่งมอบความช่วยเหลือผู้ดูแล และให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษาที่ตอบโจทย์และตรงจุด ช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น ปัจจุบัน โรคมะเร็งถือเป็นโรคร้ายและหนึ่งในวิกฤตสุขภาพ ที่คุกคามชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนทั่วโลกและในประเทศไทยมานานหลายปี ในปี 2563 โรคมะเร็งได้คร่าชีวิตคนไทยกว่า 124,866 คน หรือคิดเป็น 14 คนต่อชั่วโมง[1] โดยอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอีก 68.2% ในอีกสองทศวรรษข้างหน้า[2] ดังนั้นการเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพอย่างทันท่วงที จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิต ช่วยให้ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงลดความสูญเสียของทรัพยากรมนุษย์อันเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ สินเชื่อดังกล่าวยังครอบคลุมถึงโรคฮีโมฟีเลียหรือโรคเลือดออกง่าย...

  • วันฮีโมฟีเลียโลก World Haemophilia Day

    วันฮีโมฟีเลียโลก 2564 ความท้าทายของโรคเลือดออกง่ายในยุคโควิด และอนาคตการรักษาผู้ป่วยในประเทศไทย

    ประเทศไทย – วันฮีโมฟีเลียโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 17 เมษายนของทุกปี เป็นวันที่ทั่วโลกร่วมกันรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักในหมู่ประชาชนทั่วไปและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถึงความท้าทายในการใช้ชีวิตของผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย (Haemophilia) หรือ โรคเลือดออกง่ายหยุดยาก เพื่อให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ผู้ป่วยยังต้องเผชิญอุปสรรคในการเข้าถึงการรักษาเนื่องจากการไปโรงพยาบาลอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะสัมผัสเชื้อได้ โรคฮีโมฟีเลีย จัดเป็นโรคหายาก โดยสหพันธ์ฮีโมฟีเลียโลก (World Federation of Hemophilia) ได้ประมาณการจำนวนผู้ป่วยทั่วโลกไว้ราว 320,000 คน [1] และในประเทศไทยคาดว่ามีจำนวนผู้ป่วยอยู่ที่ 5,750 คน แต่กลับมีผู้ป่วยฮีโมฟีเลียที่ลงทะเบียนอย่างเป็นทางการ (Thailand Hemophilia Registry) เพียง 2,138 ราย ซึ่งวัดเป็นสัดส่วนประมาณ 37% ของผู้ป่วยทั้งหมด [2] ส่วนผู้ป่วยที่เหลืออีกกว่า 62% อาจเป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย หรือแสดงอาการเล็กน้อยถึงปานกลางเท่านั้น จึงหมายความว่ายังมีผู้ป่วยอีกมากที่ไม่สามารถเข้าถึงการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพได้ อาการของโรคฮีโมฟีเลียสังเกตเห็นได้ตั้งแต่ผู้ป่วยมีอายุน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นรอยฟกช้ำบนผิวหนัง อาการเลือดออกในกล้ามเนื้อและข้อต่อ...