ผลการศึกษาซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Respiratory Medicine แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของ Evusheld ในการรักษาโรคโควิด-19 สำหรับกลุ่มผู้ป่วยนอกที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง ผลการทดลองแท็คเคิล (TACKLE) การศึกษาระยะที่ 3 สำหรับการรักษาโรคโควิด-19 ในกลุ่มผู้ป่วยนอก แสดงให้เห็นว่า Evusheld ของแอสตร้าเซนเนก้า (เดิมชื่อ AZD7442 ส่วนผสมระหว่างแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวสองชนิด ได้แก่ tixagevimab และ cilgavimab) สามารถป้องกันการการเกิดโรคแบบรุนแรง หรือการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางคลินิกและทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (Placebo) โดยการรักษาด้วย Evusheld ในระยะเริ่มต้นของโรคนั้น สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น1...
Tagged: Astrazeneca
-
June 12, 2022
-
โรงพยาบาลบ้านแพ้ว ร่วมกับ ดีป้า และ แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย เปิดตัวโครงการ “ตรวจไว สู้ภัยมะเร็งปอด” นำนวัตกรรม AI เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจหามะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น
โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) และแอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย เปิดตัวโครงการ “ตรวจไว สู้ภัยมะเร็งปอด” นำนวัตกรรม AI เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจหามะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเปิดงาน ณ ลาน Eden ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โครงการ “ตรวจไว สู้ภัยมะเร็งปอด” เป็นโครงการนำร่องการใช้เทคโนโลยี AI หรือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์...
April 20, 2022 -
5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของ แอสตร้าเซนเนก้า
ในขณะที่ประชาชนคนทั่วไปกำลังจะเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากโรงพยาบาลและศูนย์ฉีดวัคซีนต่าง ๆ ทั่วประเทศ แอสตร้าเซนเนก้าจึงขอนำเสนอ 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่ประชาชนก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน 1.วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ได้รับการอนุมัติใช้งานแล้วกว่า 168 ประเทศทั่วโลก 2.วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า สามารถฉีดให้แก่ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป 3.ในการเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนจะต้องมีการตรวจสอบและคัดกรองเบื้องต้น ประกอบไปด้วย เป็นผู้ที่ไม่มีอาการไข้ขึ้นสูงเกิน 37.5 องศา ในวันที่เข้ารับการฉีดวัคซีนฯ ไม่มีโรคประจำตัวขั้นรุนแรงที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้[1] ได้แก่ โรคความดัน โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางเดินหายใจเรื้องรัง กลุ่มโรคระบบประสาท กลุ่มโรคเบาหวานและโรคอ้วน ไม่มีประวัติแพ้ยาหรือสารประกอบในกลุ่มที่ระบุ[2] ผู้มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ความผิดปกติในการแข็งตัวของเกล็ดเลือด หรือผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด สามารถฉีดวัคซีนได้ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์ฯ[3]...
June 8, 2021