คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ผนึกความร่วมมือกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) บริษัทควอนตัม ไบโอเทค จำกัด และบริษัทเฮลท์ลีด จำกัด (มหาชน) พัฒนาสเปรย์พ่นจมูกเบซูโตะ เคลียร์ (Besuto Qlears) จากสารสกัดจากธรรมชาติ ที่ช่วยยับยั้งและป้องกันเชื้อไวรัสก่อโรคทางเดินหายใจ เช่น SARs-COV-2 (COVID-19) ไข้หวัดใหญ่(H1N1) และRSV ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในโลก ทดสอบโดยคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากความร่วมมือของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)...
Tagged: Covid19
-
November 9, 2022
-
Evusheld สามารถป้องกันการดำเนินโรคของโควิด-19 หรือการเสียชีวิต จากการทดลองระยะที่ 3 แท็คเคิล (TACKLE)
ผลการศึกษาซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Respiratory Medicine แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของ Evusheld ในการรักษาโรคโควิด-19 สำหรับกลุ่มผู้ป่วยนอกที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง ผลการทดลองแท็คเคิล (TACKLE) การศึกษาระยะที่ 3 สำหรับการรักษาโรคโควิด-19 ในกลุ่มผู้ป่วยนอก แสดงให้เห็นว่า Evusheld ของแอสตร้าเซนเนก้า (เดิมชื่อ AZD7442 ส่วนผสมระหว่างแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวสองชนิด ได้แก่ tixagevimab และ cilgavimab) สามารถป้องกันการการเกิดโรคแบบรุนแรง หรือการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางคลินิกและทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (Placebo) โดยการรักษาด้วย Evusheld ในระยะเริ่มต้นของโรคนั้น สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น1...
June 12, 2022 -
รพ.ไทยนครินทร์ เปิดตัว Recovery Care Clinic ฟื้นฟูสุขภาพหลังป่วย รองรับผู้ป่วย Long COVID ทุกวัย ครอบคลุมทุกกลุ่มอาการ
โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ระดมทีมแพทย์เฉพาะทางหลากหลายสาขาและแพทย์ทางเลือก (แพทย์จีน) รองรับผู้ป่วยลองโควิด (Long COVID) ตอบโจทย์การรักษาทุกกลุ่มอาการด้วยการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างตรงจุด พร้อมเดินหน้าเปิด ‘Recovery Care Clinic : คลินิกฟื้นฟูสุขภาพหลังป่วย’ ภายใต้แนวคิด ‘Realize & Personalized’ เข้าใจทุกอาการและวางแผนฟื้นฟูเฉพาะบุคคล ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โรงพยาบาลไทยนครินทร์ เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลเอกชนที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกและภาคตะวันออก มาตลอดระยะเวลา 29 ปี โดยในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โรงพยาบาลฯ ได้รองรับผู้ป่วยโรค โควิด-19 เป็นจำนวนมาก...
May 26, 2022 -
แพทย์ย้ำควรป้องกัน ‘โรคไข้หวัดใหญ่’ ก่อนระบาดอีกในเดือนพฤษภาคมนี้ แนะการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนโควิด-19 ช่วยลดอาการรุนแรง และลดอัตราการนอนห้องไอซียูได้ถึง 7%
ตลอดระยะเวลามากกว่า 2 ปี ทั่วโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งอยู่ท่ามกลางความสนใจของผู้คนจำนวนมหาศาลเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 และยารักษาโควิด-19 รวมถึงทุกเรื่องที่เกี่ยวข้อง ทำให้อาจลืมไปว่ายังมี ‘ไวรัสทางเดินหายใจ’ อีกตัวที่ควรเฝ้าระวังและให้ความสำคัญ เนื่องจากไวรัสนี้ไม่ได้หายไปไหนและพร้อมที่จะกลับมาระบาดอีกครั้ง นั่นก็คือ ‘ไข้หวัดใหญ่’ มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ จึงได้จัดเสวนา “ไขปัญหาไข้หวัดใหญ่ในยุคโควิด-19” โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐ ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ ในปี 2565 รวมถึงเชื้อไวรัสต่างๆ ที่กำลังเข้าสู่ช่วงแพร่ระบาดในฤดูฝน ในเดือนพฤษภาคม ความสำคัญของการป้องกันไข้หวัดใหญ่ ความเสี่ยงของการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ความแตกต่างของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ และ 4 สายพันธุ์...
March 23, 2022 -
เคสเทรล ชุดตรวจ ATK โควิด-19 แบบตรวจด้วยตนเอง นวัตกรรมไทย คุณภาพระดับสากล
บริษัท เคสเทรล ไบโอ ไซเอ็นซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศความสำเร็จการพัฒนาชุดตรวจโควิด 19 แบบตรวจด้วยตนเองของไทยที่มีมาตราฐานระดับสากล เปิดแผนพัฒนานวัตกรรมใหม่ชุดตรวจโควิด 19 และไข้หวัดหลายสายพันธุ์ เอ/บี ในชุดเดียว พร้อมส่งเสริมนวัตกรรมไทยเพื่อก้าวสู่การเป็นผู้ผลิตชุดตรวจแบบรวดเร็วที่สำคัญในอาเซียน คุณชฎารัตน์ เสโนฤทธิ์ General Manager บริษัท เคสเทรล ไบโอ ไซเอ็นซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (KBS) กล่าวว่า “บริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย พัฒนา...
February 25, 2022 -
แพทย์เตือนไข้หวัดใหญ่กำลังมา ย้ำกลุ่มเสี่ยงเร่งฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ลดความเสี่ยง Flurona พร้อมลดอัตราการเสียชีวิตจากโควิด-19 ได้ถึง 10%
นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ทั่วโลกประกาศใช้มาตรการป้องกันโควิด-19 ทำให้โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจทั้งหมดลดลง ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่, โรค RSV เชื้อไวรัสในเด็กเล็ก เนื่องจากมีการสวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่าง ช่วงปี พศ. 2563 – 2564 ที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ทั่วโลกลดลง ประมาณ 70-80 เท่า แต่เมื่อไรก็ตามที่นโยบายถอดหน้ากากอนามัยปฎิบัติมากขึ้น โรคไข้หวัดใหญ่ก็จะกลับมาอีก รศ. (พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ และนายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า “สิ่งที่น่าวิตกกังวล คือ...
February 22, 2022 -
ฟิตบิท ชวนแก๊งเพื่อนมาฉลองวันมิตรภาพสากล ถึงแม้จะอยู่ห่างกันแต่ก็ยังฟิตเฟิร์มเป็นหมู่คณะ
ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ชีวิตประจำวันของผู้คนต่างต้องเว้นระห่างทางสังคม ไม่สามารถออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน ทานข้าวนอกบ้าน หรือแม้แต่ใช้เวลากับแก๊งเพื่อนคนสนิทได้เหมือนแต่ก่อนเพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสและติดเชื้อโควิด-19 ได้ ทำให้ในช่วงกว่า 2 ปีที่เราอยู่กับโควิด-19 อาจจะห่างเหินกับแก๊งเพื่อนของเราไปบ้าง เนื่องในโอกาสวันมิตรภาพสากล วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 ฟิตบิท อยากจะขอร่วมเป็นส่วน หนึ่งในการช่วยเสริมความฟิตให้ความสัมพันธ์ของคุณกับเพื่อน ๆ ไปพร้อมกับร่างกายที่แข็งแรงไปในคราวเดียวกัน ด้วย 3 ทริคสนุก ๆ ที่จะช่วยให้คุณและเพื่อน ๆ ได้สนุกกับการออกกำลังกายจากที่บ้านและยังปลอดภัยจากโควิด-19 ได้อีกด้วย ตั้งเป้าฟิต ติดตามผลเป็นประจำ: ชวนเพื่อน ๆ ของคุณมาตั้งเป้าหมายความฟิตด้วยการนับก้าวเดินและสร้างชาเลนจ์กับแก๊งเพื่อนผ่านฟีเจอร์อย่าง Fitbit Challenge บนสมาร์ทวอทช์และฟิตเนสแทรคเกอร์จากฟิตบิท ที่จะช่วยให้คุณตั้งเป้าหมายและติดตามระดับความฟิตของคุณกับแก๊งเพื่อนและเสริมความสนุกในแข่งขันกันภายในกลุ่มไปกับโหมดต่าง ๆ อย่าง Daily Showdown ที่จะแสดงผลของคนที่มีก้าวเดินมากสุดในแต่ละวัน, Goal Day ที่จะแสดงผลว่าเพื่อนเราคนไหนบ้างไปถึงเป้าหมายการก้าวเดินได้ในแต่ละวัน, Workweek...
August 1, 2021 -
ตัวเลือกการรักษาผู้ป่วยโควิด ด้วยภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ NmAbs แพทย์ผู้เชี่ยวชาญชี้ ช่วยลดภาระ “เตียงเต็ม” จากผลการศึกษาในต่างประเทศ
สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมทั้งทางด้านทรัพยากรการรักษาและขีดความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งนี้การรักษาผู้ป่วยให้หายจากโรคและออกจากโรงพยาบาลได้เร็วขึ้น เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยลดภาระเตียงเต็มที่ประเทศไทยเผชิญวิกฤตอยู่ในขณะนี้ ยาแอนติบอดี ค็อกเทล (Antibody Cocktail) ที่จัดอยู่ในกลุ่มยาภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ “Neutralizing Monoclonal Antibodies” (NmAbs) ซึ่งได้รับการอนุมัติใช้แบบมีเงื่อนไขภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการใช้รักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในรายที่เหมาะสมตามการพิจารณาของแพทย์ ซึ่งมีข้อมูลจากผลการทดลองทางคลินิกและข้อมูลการใช้จริงในสหรัฐอเมริกาที่ช่วยลดระยะเวลาการเข้ารักษาในโรงพยาบาลได้ ศ. นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มยาภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ อย่างเช่น แอนติบอดี ค็อกเทลว่า “ยาแอนติบอดี ค็อกเทลเป็นแอนติบอดีชนิดโมโนโคลนอล (monoclonal) สองชนิดที่ใช้ควบคู่กัน...
July 30, 2021 -
จิตแพทย์แนะดูแลจิตใจผู้ป่วย ในช่วงโควิด
ความกลัว ความเครียด หรือวิตกกังวล เป็นการตอบสนองที่ปกติต่อการถูกคุกคาม สิ่งที่เราไม่รู้ หรือความไม่แน่นอน ดังนั้นเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนจะมีประสบการณ์ดังกล่าวเมื่อมีการแพร่ระบาดของ โควิด -19 รวมทั้งผู้ป่วยจิตเวชที่มีความผิดปกติจากการทำงานของสมอง ทั้งโรคสมาธิสั้นในเด็ก โรคไบโพลา และโรคจิตเภท นอกจากจะต้องการความเห็นใจแล้ว การอยู่ในความดูแลของแพทย์เป็นส่วนสำคัญมากที่จะช่วยให้คนไข้ไม่สูญเสียโอกาสและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ โรคสมาธิสั้นเป็นโรคทางจิตเวชที่มีความชุกที่เกิดขึ้นในเด็กมากที่สุด เกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ทั้งทางชีวภาพ ได้แก่ พันธุกรรม ระบบประสาทซึ่งพบว่าส่วนหน้าทำงานผิดปกติ โดยเฉพาะบริเวณที่เกี่ยวกับการคิด การวางแผน การจัดลำดับ การควบคุมตนเอง รวมถึงมีสารในสมองที่สำคัญบางตัวน้อยกว่าคนทั่วไป นอกจากนี้ การเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อมทำให้เด็กเป็นสมาธิสั้นมากขึ้น เช่น การเลี้ยงดูที่ตามใจมากจนไม่มีระเบียบวินัย และการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต่างๆ...
June 17, 2021 -
5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของ แอสตร้าเซนเนก้า
ในขณะที่ประชาชนคนทั่วไปกำลังจะเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากโรงพยาบาลและศูนย์ฉีดวัคซีนต่าง ๆ ทั่วประเทศ แอสตร้าเซนเนก้าจึงขอนำเสนอ 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่ประชาชนก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน 1.วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ได้รับการอนุมัติใช้งานแล้วกว่า 168 ประเทศทั่วโลก 2.วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า สามารถฉีดให้แก่ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป 3.ในการเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนจะต้องมีการตรวจสอบและคัดกรองเบื้องต้น ประกอบไปด้วย เป็นผู้ที่ไม่มีอาการไข้ขึ้นสูงเกิน 37.5 องศา ในวันที่เข้ารับการฉีดวัคซีนฯ ไม่มีโรคประจำตัวขั้นรุนแรงที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้[1] ได้แก่ โรคความดัน โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางเดินหายใจเรื้องรัง กลุ่มโรคระบบประสาท กลุ่มโรคเบาหวานและโรคอ้วน ไม่มีประวัติแพ้ยาหรือสารประกอบในกลุ่มที่ระบุ[2] ผู้มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ความผิดปกติในการแข็งตัวของเกล็ดเลือด หรือผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด สามารถฉีดวัคซีนได้ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์ฯ[3]...
June 8, 2021 -
Work from Home อย่างไร ไม่ส่งผลร้ายต่อกระดูกและข้อ
ในห้วงเวลาที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับโรค Covid-19 ที่กำลังระบาดในขณะนี้ มีหลายคนต้องปรับตารางการทำงาน เพื่อรองรับกับสถานการณ์การระบาด และจำเป็นต้องทำงานจากที่บ้าน หรือที่เรียกกันว่า Work from Home ซึ่งการที่ต้องเปลี่ยนสถานที่จากที่ทำงานมาเป็นที่บ้านก็มีบางปัจจัยที่อาจทำให้เกิดความไม่สบาย หรือเกิดความเจ็บป่วยของโรคทางกระดูกและข้อได้ บทความชิ้นนี้จึงขอนำข้อแนะนำจาก นพ.ศรัณย์ ก่อวุฒิกุลรังษี แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนวเวช มาบอกเล่า ลองมาดูกันว่าความไม่สบายและความเจ็บป่วยที่กระดูกและข้อที่เกิดจากการ Work from Home มีอะไรได้บ้าง และเราจะป้องกันได้อย่างไร อาการที่เกิดจาก Work from Home ปวดหลังง่ายขึ้น เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่บ้านไม่เหมือนที่ทำงาน บางคนไม่มีโต๊ะหรือเก้าอี้ที่เหมาะสำหรับการทำงาน เช่น นั่งทำงานที่โต๊ะกินข้าว ซึ่งเก้าอี้จะปรับระดับไม่ได้ และที่รองนั่งอาจจะแข็ง พนักพิงไม่เหมาะสำหรับการนั่งนาน ๆ ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ง่ายกว่านั่งเก้าอี้ที่ทำงาน บางคนอยู่ในห้องพัก...
May 21, 2021 -
โรคไวรัสโควิด-19 เมื่อต้องรักษาในห้อง ICU รักษาอย่างไร
แนวทางการรักษาโรคไวรัสโควิด-19 หลัก ๆ จำเป็นต้องให้ยาต่างๆให้ถูกช่วงเวลา เพราะถ้าให้ยารักษาในช่วงเวลาที่ผิด ก็จะไม่ได้ผล นายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน (หมอแทน) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอดและเป็นอาจารย์แพทย์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า การรักษาโรคไวรัสโควิด-19 ในระยะแรกของการติดเชื้อมีเป้าหมายเพื่อลดจำนวนไวรัสให้เร็วที่สุด โดยการให้ยาต้านไวรัส ส่วนระยะที่ 2 ผู้ป่วยจะเริ่มเกิดการอักเสบของร่างกาย เนื่องจากการทำงานมากผิดปกติของภูมิคุ้มกันร่างกาย ทำให้อวัยวะต่างๆโดยเฉพาะปอดทำงานผิดปกติ การรักษาในระยะนี้ต้องให้ยาเพื่อไประงับภูมิคุ้มกันที่ทำงานมากเกินไป เช่น ยาสเตียรอยด์ ระยะที่ 3 ถือเป็นช่วงการรักษาที่สำคัญ ระยะนี้มีเวลาสั้นมากจำเป็นต้องวินิจฉัยรักษาให้ทัน จุดเด่นคือผู้ป่วยอาการกำลังแย่ลงมาก การหายใจกำลังจะล้มเหลว และมีการอักเสบในร่างกายพุ่งขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว แพทย์จะให้ยาบางตัวที่มีความจำเพาะกับภูมิคุ้มกันมาก โดยยานี้จะไปยับยั้งสารก่อการอักเสบ Interleukin-6 เพื่อไปหยุดการทำงานที่ผิดปกติของภูมิต้านทานที่ทำให้ปอดอักเสบ ซึ่งถ้าสามารถให้ยาถูกช่วงเวลาและทันท่วงที อาการผู้ป่วยก็จะดีขึ้น อาจจะสามารถทำให้หลีกเลี่ยงการใส่เครื่องช่วยหายใจได้ ยาตัวนี้หากให้ไม่ถูกช่วงเวลา คือ...
May 16, 2021 -
KAZE ทางเลือกใหม่เพื่อการหายใจที่สะอาดและปลอดภัย หน้ากากคุณภาพสูงที่เหล่าดารา และคนดังระดับโลกเลือกใช้
KAZE แบรนด์ที่ได้รับการยอมรับระดับโลก KAZE Original ปัจจัยที่ห้าสำหรับชีวิตประจำวันที่ช่วยปกป้องระบบการหายใจตามมาตรฐาน KN95/FFP2 และเสริมบุคลิกภาพที่ดีให้กับผู้สวมใส่ มาให้เลือกกันหลากหลายสีสันและขนาดต่างๆที่เหมาะกับผู้ใช้งาน และความลงตัวในเรื่องของคุณภาพ ความรู้สึกสบาย และการออกแบบ การผสมผสานทั้งหมดนี้ทำให้ KAZE เป็นแบรนด์ที่เหล่าคนดังอย่างคาร์ดิ บีที่จับคู่ KAZE กับเดรสแบรนด์ Pierre-Louis Auvray ในวันชอปปิ้งสบายๆที่เบเวอร์ลีฮิลส์ คู่รักที่ทั่วโลกต่างอิจฉาอย่างจัสติน บีเบอร์และภรรยานางแบบสาวสวยแห่งวงการฮอลลีวูดเฮลี่ย์ บีเบอร์ก็มีภาพการใช้หน้ากาก KAZE ออกมาให้เห็น นอกจากนี้ยังมีแม่แห่งวงการอย่างเจนนิเฟอร์ โลเปซ นักร้องสาวที่มาแรงอย่างดัว ลิปา ทั้งคนดังในประเทศไทยอย่างเชฟต้นแห่งร้าน...
May 12, 2021 -
คุณแม่ต้องรู้! รับวัคซีนโควิด-19 แล้ว ทำให้มีบุตรยากจริงหรือ?
การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ยาวนานและมีการทวีความรุนแรงของเชื้อโรคมากขึ้นในปัจจุบัน อาจส่งผลต่อการตัดสินใจเรื่องการวางแผนมีบุตรของหลายคู่แต่งงานที่กังวลในเรื่องความปลอดภัยของทารกในครรภ์ รวมถึงความพร้อมด้านสุขภาพของคุณแม่และในอีกหลายปัจจัย ทำให้หลายครอบครัวจึงเลือกที่จะเลื่อนโปรแกรมการรักษาภาวะมีบุตรยากเพื่อรอจนกว่าจะมีความมั่นใจในการรับวัคซีนโควิด-19 แพทย์หญิงสิริสุข อุ่ยตระกูล สูตินรีแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลเจตนิน กล่าวว่า ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโควิด-19 หลากหลายยี่ห้อที่ได้ทำการทดลองในสัตว์ที่ตั้งครรภ์ ซึ่งยังไม่พบผลข้างเคียงที่ผิดปกติ เช่น วัคซีนจากโมเดอร์นา (Moderna), ไฟเซอร์ (Pfizer) และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson) แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาผลข้างเคียงของวัคซีนในผู้ที่ตั้งครรภ์ค่อนข้างมีข้อจำกัดและยังมีจำนวนไม่มากนัก ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐ (Centers for Disease Control...
May 11, 2021