รมว.ยุติธรรม แถลงจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ครั้งที่ 1 “มีหนี้ต้องแก้ไข รุกก้าวไปอย่างยั่งยืน” กรุงเทพฯ-ปริมณฑล 25-26 ก.พ. ไบเทคบางนา

รมว.ยุติธรรม

รมว.ยุติธรรม แถลงจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ-ปริมณฑล 25-26 ก.พ. ไบเทคบางนา “มีหนี้ต้องแก้ไข รุกก้าวไปอย่างยั่งยืน” เชิญลูกหนี้ 95,850 ราย สถาบันการเงิน 16 แห่ง ชวนทุกคนร่วมงานอย่าทิ้งโอกาส เตรียมเดินสายต่อให้ครบทั่วประเทศ ยันนายกฯต้องการช่วยแก้ปัญหาให้ประชาชน

เมื่อเวลา 10.00 น. 28 มกราคม ที่กระทรวงยุติธรรม นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงข่าวการจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ-ปริมณฑล โดยมี น.ส.ณัฐธ์ภัสส์ ยงใจยุทธ ผู้ช่วย รมว.ยุติธรรม ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการ รมว.ยุติธรรม นางทัศนีย์ เปาอินทร์ อธิบดีกรมบังคับคดี นายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ นายวิวรรธนไชย ณ กาฬสินธุ์ คณะกรรมการประสานงานแก้ไขปัญหาหนี้สิน กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) และ นายโฆสิต สุวินิจจิต ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พัฒนาและบูรณาการเครือข่ายภาคประชาชน กระทรวงยุติธรรม ร่วมงาน

รมว.ยุติธรรม

รมว.ยุติธรรม

นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศว่าปีนี้เป็นปีแห่งการแก้หนี้สินครัวเรือน ต้องช่วยเหลือประชานทุกภาคส่วน โดย นายกรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายเป็น 8 กลุ่ม ซึ่งมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงยุติธรรม 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.แก้ปัญหาหนี้ กยศ.

2.การแก้ปัญหาหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล

3.แก้ปัญหาหนี้เช่าซื้อรถยนต์ (ลิสซิ่ง) และ

4.ปรับปรุงขั้นตอนกระบวนการยุติธรรม อำนวยความสะดวกในการไกล่เกลี่ย ซึ่งภารกิจตรงนี้เป็นภารกิจหลักของกระทรวงยุติธรรมที่จะช่วยภาครัฐ กระทรวงยุติธรรมจึงได้จัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ขึ้นระหว่างวันที่ 25-26 ก.พ.2565 ที่ไบเทค บางนา โดยมีเป้าหมายในการเชิญลูกหนี้เข้าร่วมงาน 95,850 ราย และได้รับความร่วมมือจากสถาบันการเงิน 16 แห่ง ประกอบด้วย

1. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
2.ธนาคารออมสิน
3.บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
4.ธนาคารเพื่อการเกษตรและและสหกรณ์การเกษตร
5.บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ จำกัด
6.ธนาคารอาคารสงเคราะห์
7.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
8.ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน)
9.ธนาคารซิตี้แบงก์
10.บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC
11.บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
12.บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด
13.บริษัท บริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำกัด
14.บริษัท ซิตี้คอร์ป ลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
15 บริษัท เจเอ็มที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) และ
16. บริษัท เคบี เจ แคปปิตอล จำกัดรมว.ยุติธรรม

รมว.ยุติธรรม

“สิทธิประโยชน์ที่ผู้เข้าร่วมงานจะได้รับเบื้องต้น คือ 1.การขยายเวลาการชำระหนี้ 2.การลดเบี้ยปรับ การลดดอกเบี้ย การลดค่างวดรายเดือน 3.ไม่ถูกฟ้องคดี 4.งดยึดทรัพย์ งดขายทอดตลาด ลูกหนี้จะไม่ถูกบังคับคดี และ5. สิทธิประโยชน์อื่นๆอีกมากมาย การไกล่เกลี่ยนี้ทำโดยถูกต้องตามกฎหมาย มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร จึงอยากให้ทุกท่านมาร่วมงาน และควรมาด้วยตัวเองเพื่อชี้แจงเจ้าหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้เองก็เห็นอกเห็นใจอยู่แล้ว อยากให้ทุกท่านมาร่วมงานนี้เพราะเราเป็นเพื่อนกัน นายกฯไม่ปล่อยให้ท่านลำบาก เมื่อมาจะสามารถมาต่อรองการผ่อนชำระได้ เพราะหากไม่มาท่านก็จะร้อนใจ และหากผิดชำระก็จะถูกดำเนินการตามกฎหมาย เราก็จะช่วยท่านไม่ได้ ท่านก็ต้องช่วยตัวเอง เราจะเดินหน้าจัดงานไปทุกภาคทั่วประเทศ และผมจะเดินทางไปร่วมกิจกรรมด้วยให้มากที่สุด ขอย้ำว่า มีหนี้ต้องแก้ไข รุกก้าวไปอย่างยั่งยืน” นายสมศักดิ์ กล่าว

รมว.ยุติธรรม

นางทัศนีย์ กล่าวว่า กรมบังคับคดี รับผิดชอบการไกล่เกลี่ยหนี้หลังคำพิพากษา ซึ่งกรมได้มีหนังสือเชิญลูกหนี้เข้าร่วมงาน ทั้งสองวันรวม 47,260 ราย ยอดหนี้ประมาณ 6,000 ล้านบาท โดยผู้ต้องการจะเข้าร่วมงานสามารถลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ พร้อมสแกน QR Code ที่จะมีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนผ่านสื่อต่าง ๆ ทางสื่อออนไลน์ สื่อวิทยุ และโทรทัศน์ในครั้งนี้ สำหรับการตรียมพื้นที่เราได้มีการจัดเตรียมสถานที่ สำหรับผู้เข้าร่วมงาน มีมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตามข้อกำหนดของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จุดตรวจคัดกรอง วัดอุณหภูมิ การแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีน อย่างน้อย 2 เข็ม แต่ถ้าฉีดวัคซีนไม่ครบก็ต้องหลักฐานการตรวจโควิด ATK หรือ RT-PCR ไม่เกิน 72 ชั่วโมง กรณีไม่มีหลักฐาน สามารถตรวจ ATK ณ จุดตรวจ ก่อนเข้างาน การรักษาระยะห่าง โดยเว้นระยะห่างตามมาตรการป้องกันของกระทรวงสาธารณสุข

รมว.ยุติธรรม

นายเรืองศักดิ์ กล่าวว่า ในส่วนของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ มีกลุ่มเป้าหมายลูกหนี้ก่อนฟ้อง ของ กยศ. และสถาบันการเงิน รวมทั้งสิ้น 48,590 ราย วงเงิน 4,186 ล้านบาท และได้เชิญศูนย์ไกล่เกลี่ยภาคประชาชนใน กทม. 234 ศูนย์มาร่วมให้บริการ เราหวังลดภาระให้ประชาชน และให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างรวดเร็ว โดยขณะนี้มีศูนย์ไกล่เกลี่ยทั่วประเทศ 722 แห่ง โดยเป็นของภาคประชาชน 640 แห่ง ของภาครัฐ 82 แห่ง

Leave a Reply