เปิดโลก “มายา” ผ่านแทน โฆษิตพิพัฒน์ นิทรรศการชีวิตผ่านสื่อดิจิทัล เดี่ยวครั้งแรก
“แทน โฆษิตพิพัฒน์” ลูกชายคนเดียวของศิลปินแห่งชาติ “เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์” เปิดโลก “มายา” นิทรรศการงานแสดงผลงานศิลปะเดี่ยวครั้งแรก ที่ใช้แท็บแล็ตเป็นสื่อกลางในการสะท้อนมุมมองของชีวิตจากทั่วโลก เป้าหมายเพื่อกระจายพลังเชิงบวกแก่สังคม พร้อมตั้งเป้ามอบรายได้กว่า 1 ล้านบาทให้แก่ศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถเพื่อโรคมะเร็งเต้านม และมอบแท็บเล็ตอีกกว่า 60 เครื่องเพื่อช่วยเหลือด้านการเรียนการสอนแก่ 3 โรงเรียนในจังหวัดเชียงราย
นิทรรศการ “มายา” เป็นการนำเสนอเรื่องราว ประสบการณ์ และสัมพันธภาพของผู้คนในโลกยุคปัจจุบัน โดยถ่ายทอดเนื้อหาเกี่ยวกับมนุษย์ในโลกออนไลน์กับมนุษย์ในโลกแห่งความเป็นจริง ผ่านอุปกรณ์เครื่องมืออันทันสมัย อาทิ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นกลายเป็นหน้าต่างบานใหม่ที่ได้นำมนุษย์ออกมาสู่โลกภายนอกอันกว้างใหญ่ได้อย่างง่ายดาย แม้ว่าโลกไซเบอร์เหล่านี้จะเป็นเพียงแค่จุดเล็ก ๆ ที่รวมกันเป็นภาพบนหน้าจอ (pixel) แต่ทุกอย่างล้วนเป็นภาพสะท้อนของความเป็นจริง และตีแผ่ให้เห็นถึงจิตใต้สำนึกของมนุษย์ทั้งสิ้น
“แทน” เป็นหนึ่งในหลายๆ ชีวิตที่ได้รับอิทธิพลมากมายจากโลกไซเบอร์ อาจเป็นเพราะตอนเด็กๆ แทนต้องย้ายที่เรียนไปหลายแห่งตามพ่อ โลกไซเบอร์จึงนำแทนให้ไปพบและรู้จักกับเพื่อนๆ จากหลากหลายมุมโลก บางคนได้รู้จัก ติดต่อ และเรียนรู้ซึ่งกันและกันมากว่า 10 ปี เดินทางข้ามโลกมาเพื่อพบเจอกันจริงๆ จนกลายเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันในชีวิตจนถึงปัจจุบัน หลายคนอาจมองว่านี่คือการใช้ชีวิตที่แปลก แต่สำหรับแทนมันคือประสบการณ์ที่น้อยคนนักจะได้เข้าถึงและเข้าใจ บางทีนี่คงเป็นสาเหตุที่คนเหล่านี้ใช้เวลาไปกับมายาในโลกออนไลน์มากกว่าโลกแห่งความเป็นจริง
งานศิลปะจัดวางของแทนได้นำคลิปวีดีโอจากเพื่อนในโลกออนไลน์ทั่วทุกมุมโลก มานำเสนอในรูปแบบของงานศิลปะสมัยใหม่ ด้วยความตั้งใจที่อยากให้ผู้คนซึ่งเข้ามาชมผลงานในนิทรรศการจากโลกแห่งความเป็นจริง ได้สัมผัสกับมิติชีวิตอันหลากหลายของผู้คนมากมายผ่านบานหน้าต่างแบบดิจิทัล
แทน ได้คลิปวีดีโอจำนวน 600 คลิปนี้มาจากเพื่อนทั่วโลกของแทน บนกระดานข่าวและพื้นที่กึ่งสาธารณะในโลกออนไลน์ คลิปวีดีโอทั้ง 600 ชิ้นนี้จะนำเสนอภาพเคลื่อนไหวผ่านแท็บเล็ต 60 เครื่อง นอกจากนั้นยังมีงานวาดเส้นและงานจิตรกรรมของแทน ซึ่งจะจัดแสดงร่วมกันภายใต้แนวความคิดอันเป็นชื่อของนิทรรศการ มายา
นิทรรศการ “มายา” จะเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมตั้งแต่วันนี้-วันที่ 14 ตุลาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น. (วันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ เปิดถึง 21.00 น.) ณ Bowen Hall ล้ง1919 เขตคลองสาน กรุงเทพฯ
ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 4-13 ตุลาคม 2562 ยังมีกิจกรรมพิเศษ “MAYA Talk” ที่จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้ และแรงบันดาลใจด้านศิลปะ จากอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และนภัส โฆษิตพิพัฒน์ โดยจะเปิดให้ผู้สนใจสมัครเข้าร่วมฟังได้ฟรี (รับจำนวนจำกัด) อีกด้วย
Maya tells stories, experiences, and relationships between people online and those living in the real world. Innovative mediums such as smartphones, tablets, televisions, computers and electronic devices have become the windows that lead humans to explore the whole world more easily. Although they are composed of only tiny little pixels, these tools help reflect the truth, while at the same time revealing the subconscious of all human beings.
I am one of those people who have had a considerable amount of influence from the cyber realm. Transferring schools quite often because of my father’s job could also be the reason why I am so close to the virtual world as it introduced me to new friends across the globe. Some of them have kept in touch with me for more than 10 years. We even traveled to the other side of the world just to see each other and become friends for life until now.
Many people may think that this is a strange lifestyle. However, for me, it is an experience only a specific group of people can truly understand. That probably explains why they invest so much of their time online more than the real world.
My installation art incorporates video clips from my friends presenting in forms of modern art. The installation work intends for the audiences who visit the show to immerse themselves in a variety of lifestyles from people around the world through these digital windows.
I have collected 600 clips from my friends whom I met on a web board and online semi-public space. The videos will be played on 60 tablets together with drawings and paintings that share the same concept of “Maya”.
Recent Comments