วิกฤตใหญ่สำหรับผู้คนมากมายทั่วโลกจากการระบาดของเชื้อโควิค 19 เกิดขึ้นมาช่วงปลายปี พศ. 2562 และเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น ตอนต้นปี พศ. 2563 “โรคระบาดหรือโรคลำบาก” ไม่เพียงแต่แพร่เชื้ออย่างรวดเร็วและรุนแรงให้กับผู้คนมากมายทั่วโลก ก็เป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจของทั่วโลกและประเทศไทย จากการที่ธุรกิจและอาชีพที่เคยประกอบการต้องได้รับผลกระทบจากโรคดังกล่าว จึงต้องมีมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมและวัดซีนอย่างกระจายตัวให้กับประชาชนล่าช้าจากข้อจำกัดต่างๆ สภาพในตอนนั้นกรุงเทพมหานครได้รับผลกระทบหนักหน่วง ชะตากรรมของธุรกิจสายการบินไม่สู้ดี จากยอดผู้ป่วยโควิดที่พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ต้องมีการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมสถานการณ์ให้ได้ เป็นผลทำให้ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ห้างสรรพสินค้า บริษัทรับทัวร์นักท่องเที่ยว ร้านอาหาร ฯลฯ ขาดนักท่องเที่ยว ไม่มีลูกค้าออกมาใช้บริการอยู่เกือบ 2 ปีเต็ม ผู้ประกอบต้องปิดกิจการชั่วคราวต้องกู้เงินดอกเบี้ยต่ำเพื่อมาเสริมสภาพคล่อง
จากเหตุการณ์ต่างๆ ทางผู้บริหารโดย นายรอศักดิ์ มูลทรัพย์ ประธานกรรมการ, นายเกษม มูลทรัพย์ รองประธานคณะกรรมการ, ผศ.ดร.นฤมล นันทรักษ์, อ. สมศักดิ์ อัจจิกุล และคณะที่ปรึกษา ได้พิจารณาสถานการณ์แล้วได้มีนโยบายเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือและสนับสนุนมาตรการของรัฐบาล โดยผ่านการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขและกรมควบคุมโรคติดต่อ การดำเนินการขอใบอนุญาตตามกระบวนการซึ่งถือเป็นเครือข่ายทางสุขภาพที่ทำงานร่วมกัน โดยผู้บริหาร บุคลากรทางการแพทย์ และพนักงาน โดยทีมงานได้มาทำงานร่วมกันเป็นระยะหนึ่ง เพื่อถือความภาคภูมิใจ ความไว้วางใจ (Trust) และมิตรทางธุรกิจ (Business Partnership) ช่วงเวลาดังกล่าวลำบากยิ่งนักต่อการตัดสินใจ แต่ส่วนหนึ่งที่ทำก็เพราะเห็นใจกับเพื่อนมนุษย์เพราะ “ธุรกิจเพื่อสังคม” (Social Enterprise : SE) ที่มุ่งมั่นผลักดันกิจการด้วยหลักธรรมาภิบาล และไม่ได้มุ่งสร้างกำไรและทำกำไรสูงสุดเป็นเป้าหมาย
นายเกษม มูลทรัพย์ รองประธานกรรมการ โรงแรมอัลมีรอซและโรงแรมอัลมาส กล่าวว่า จากสถานการณ์ดังกล่าว และได้เห็นภาพ “ผู้ป่วยโควิดที่ไร้เตียง” ที่น่าเวทนา นอนหายใจรวยรินอยู่ข้างถนน บางคนรอเตียงเพื่อเข้ารับการรักษา ยารักษาไม่เพียงพอต่อความต้องการ บุคลากรทางการแพทย์มีจำกัด และเตียงของโรงพยาบาลไม่พอ จึงทำให้รัฐบาลต้องหาวิธีเข้าช่วยแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเปิดพื้นที่ทำเตียงสนาม เปิดหอพักผู้ป่วยโควิดชั่วคราว (Hospitel) ซึ่งในตอนนั้นโรงแรมอัลมีรอซ ก็ได้รับผลกระทบจึงหยุดกิจการชั่วคราว ถึงแม้จะออกมาทำโครงการเพื่อช่วยเหลือพนักงานที่ได้รับผลกระทบ แต่คณะผู้บริหารก็ยังต้องจำใจปิดเพราะมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ช่วงดังกล่าวต้นปี 2564 โรงแรมอัลมาส โรงแรมน้องใหม่ในเครือก็เพิ่งสร้างและปรับปรุงเสร็จ ก็ต้องชะงัก ไม่สามารถเปิดตัวได้ ทางคณะผู้บริหารจึงนำโรงแรมอัลมาส มาปรับเป็น Hospitel เป็น 1 ใน 10 ของโรงแรมในเครือข่ายสุขภาพ
นพ.วิทูร วิโรจน์สกุลชัย ประธานเจ้าหน้าที่ บริษัท พระราม2 เมดิคอลกรุ๊ป ในนามโรงพยาบาลPMG และโรงพยาบาลสหวิทยาการมะลิ กล่าวว่า ในช่วงที่ผู้ป่วยโควิด-19 มีการติดเชื้อเป็นจำนวนมาก ซึ่งจำนวนเตียงไม่เพียงพอจากการที่มีการระบาดอย่างรวดเร็วและวงกว้างอาจทำให้มาตรฐานการจัดการรักษาผู้ป่วยไม่ดีพอ กอปรกับนโยบายจากภาครัฐให้มีการรักษาแบบ Isolation และให้โรงพยาบาลสามารถประสานความร่วมมือกับโรงแรมได้มาตรฐานที่พร้อมจะรับผู้ป่วยเข้าไปพักฟื้นและรักษาได้ อีกทั้งในจำนวนผู้ป่วยไม่น้อยที่ได้นับถือศาสนาอิสลาม จึงได้ร่วมมือกับโรงแรมอัลมีรอซและโรงแรมอัลมาสในการทำ Hospitel ร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม ในปี 2565 ทางโรงแรมอัลมีรอซและโรงแรมอัลมาส ร่วมกับ นพ.วิทูร วิโรจน์สกุลชัย ประธานเจ้าหน้าที่ บริษัท พระราม2 เมดิคอลกรุ๊ป ในนามโรงพยาบาล PMG และโรงพยาบาลสหวิทยาการมะลิ ซึ่งเป็นคู่สัญญาในการทำ Hospitel หอพักผู้ป่วยโควิด AQ ที่กักตัว และกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา ปรับแผนจากโครงการ Hospitel เป็น “โครงการ Wellness” การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ในเรื่ององค์ประกอบทั้งสุขภาพภายใน ความสวยงามภายนอก ความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย ใจ จิตวิญญาณ โดยมีบุคลากรทางการแพทย์และเครื่องมือที่ทันสมัย ในการตรวจร่างกาย ตรวจสุขภาพ รับผลวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการมาตรฐาน อาทิเช่น
– กลุ่มที่ 1 การตรวจสุขภาพ : การตรวจสุขภาพ การตรวจเอกซเรย์ การตรวจหาเชื้อโควิด19 แบบ ATK, RT-PCR แบบมีใบรับรองผล การรักษาภาวะลองโควิด (Long Covid) อาการที่ตามมาจากการเป็นโควิด
– กลุ่มที่ 2 โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ (NCDS) เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคมะเร็ง โรคอ้วนลงพุง และสามารถตรวจความเสี่ยงของโรคเส้นเลือดแดงตีบตัน
– กลุ่มที่ 3 การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ : การประเมินภาวะสุขภาพ การให้คำปรึกษาและส่งเสริมสุขภาพ การประสานงานทางการแพทย์ ตลอดจนดูแลผู้สูงอายุ
นายเกษม มูลทรัพย์ รองประธานกรรมการ โรงแรมอัลมีรอซและโรงแรมอัลมาส กล่าวว่า ภายหลังจากมีการคลี่คลายของ Covid-19 และรัฐบาลได้มีนโยบาย แนะนำและดำเนินการให้ประชาชนที่ป่วยเป็น Covid-19 ที่มีอาการไม่มากทำการรักษาแบบ Home Isolation หรือทำการรักษาตัวอยู่ที่บ้าน ทำให้ผู้ป่วยที่เข้าทำการรักษาแบบ Hospitel น้อยลง ทางผู้บริหารของโรงแรมอัลมีรอซและโรงแรมอัลมาสต้องปรับแผนนโยบายอีกครั้ง และเนื่องจากเคยผ่านการทำ Hospital มาแล้วจึงได้เล็งเห็นโอกาสการเข้าสู่ธุรกิจสุขภาพ (Wellness)
“ความพร้อมในการเข้าสู่ธุรกิจนี้ทางผู้บริหารได้เริ่มมีนโยบายพิจารณาร่วมกับพาร์ทเนอร์อย่าง บริษัท พระราม2 เมดิคอลกรุ๊ป ในนามของโรงพยาบาล PMG และโรงพยาบาลสหวิทยาการมะลิ ที่พึ่งผ่านการเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกันในช่วงที่เป็น Hospitel ในด้านสถานที่ ทางโรงแรมมีทั้งโรงแรมอัลมีรอซและโรงแรมอัลมาส มีโมเดลธุรกิจของโรงแรมฮาลาลมีกระบวนการผลิตที่ต้องควบคุมมาตรฐานสากล ทั้งอาหาร ที่พัก การทำความสะอาดไม่ให้มีการปนเปื้อนตามหลักการฮาลาล (Halal Hospitality) เพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มมุสลิม กลุ่มลูกค้าทั่วไป และกลุ่มลูกค้าสุขภาพ ในด้านภาครัฐ เตรียมพร้อมที่จะขอใบอนุญาตที่ถูกต้องและทำการขอใบรับรอง SHA Plus เพื่อเพิ่มสร้างมาตรฐานและความมั่นใจให้กับฐานลูกค้าที่จะมาใช้บริการ” รองประธานกรรมการ โรงแรมอัลมีรอซและอัลมาส กล่าวทิ้งท้าย