ANDY WARHOL : POP ART บันทึกจากมิลานถึงกรุงเทพฯ 128 ชิ้น นิทรรศการป็อปอาร์ตแห่งศตวรรษ

Andy Warhol

 

กว่าจะมาเป็นนิทรรศการ ANDY WARHOL: POP ART  ได้เปิดให้เหล่าสื่อมวลชนและแขกวีไอพีได้ชมเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ซึ่งล่าช้ากว่ากำหนดไป 3 เดือน แรกเริ่มนั้นมีกำหนดเปิดในวันที่ 1 พฤษภาคม และวันที่ 2 กรกฎาคม กล่าวได้ว่านิทรรศการระดับอินเตอร์ที่นำเสนอผลงานจริงครั้งนี้เป็นบทเรียนในเรื่องการปรับตัวให้เข้ากับโลกที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่คาดคิดเมื่อต้องเผชิญกับโรคระบาด

ย้อนกลับไปเมื่อสองปีที่แล้ว ลินดา เชง กรรมการผู้จัดการของริเวอร์ ซิตี้ ได้เดินทางไปที่กรุงไทเปเพื่อฟันธงรายละเอียดต่างๆ ในการจัดนิทรรศการ Up the River During Qingming ซึ่งเป็นนิทรรศการครั้งสำคัญครั้งแรกที่ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก นำเสนอในรูปแบบมัลติมีเดียเพื่อปลุกให้ศิลปะจีนอันเก่าแก่กลับมามีชีวิตอีกครั้ง โดยชิ้นงานทั้งหมดมาจากพิพิธภัณฑ์แห่งชาติของกรุงไทเป

 

Andy Warhol

 

โดยในระหว่างนั้นมีการประชาสัมพันธ์นิทรรศการ Andy Warhol: Pop Art งานสำคัญที่กำลังจะจัดขึ้น ดังนั้นเธอจึงพยายามติดต่อนักสะสมชิ้นงานของแอนดี้ วอร์ฮอล เมื่อทางผู้บริหารของพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติกู้กงได้ยินถึงความตั้งใจจริงของเธอที่จะนำชิ้นงานของแอนดี้ วอร์ฮอล มาจัดแสดงที่กรุงเทพฯ พวกเขาจึงแนะนำให้เธอได้รู้จักกับตัวแทนของนักสะสมเจ้าของชิ้นงาน แผนการนำผลงานของแอนดี้ วอร์ฮอลมายังประเทศไทยจึงได้เริ่มขึ้นภายในเวลาหนึ่งเดือน

นับเป็นครั้งแรกที่นิทรรศการขนาดใหญ่และมีความสำคัญเช่นนี้เกิดขึ้นในประเทศไทย ความยากลำบากในการจัดงานช่วงที่โรคระบาดกำลังส่งผลกระทบไปทั่วโลก อีกทั้งมีการล็อคดาวน์เป็นสิ่งที่พิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นและความอดทนของทุกคนที่เกี่ยวข้องกับโปรเจ็คต์นี้

 

Andy Warhol

 

มร. โทบี้ หลู ยู้ จุ้น ผู้จัดการฝ่ายขายและนิทรรศการของริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก เผยถึงเบื้องหลังการจัดงาน ตั้งแต่การออกแบบนิทรรศการการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในห้อง การขนส่ง การเลือกสรรของที่ระลึก การเปิดกล่องผลงาน การแขวนชิ้นงานไปจนถึงการเปิดงานอย่างเป็นทางการโดยมีคุณยุทธชัย จรณะจิตต์ ซีอีโอแห่งอิตัลไทยกรุ๊ปและเอกอัครราชทูต ไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี แห่งสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำราชอาณาจักรไทย

 

Andy Warhol

 

การจำหน่ายบัตร
ริเวอร์ ซิตี้ เริ่มจำหน่ายบัตร early bird ราคาพิเศษตั้งแต่เดือนมีนาคมเมื่อนิทรรศการกำหนดเปิดให้ชมในวันที่ 1 พฤษภาคม (ที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรกแต่จำเป็นต้องเลื่อนออกไป) และเพื่อให้คนทั่วไปได้รู้จักกับแอนดี้ วอร์ฮอล แผนกประชาสัมพันธ์ของเราเริ่มรวบรวมเรื่องราวและภาพเกี่ยวกับชีวิตและผลงานของป๊อปอาร์ตไอคอนอเมริกันแห่งศตวรรษที่ 20 คนนี้ ในช่วงล็อคดาวน์เราได้ทำคอนเทนต์ลงโซเชียลมีเดียซึ่งได้ผลตอบรับอย่างดีในช่วงที่ต้องกักตัวอยู่บ้าน ทำให้ผมและทีมมีความมั่นใจมากขึ้น

 

Andy Warhol

 

งานระดับโลก
การนำเสนอผลงานของศิลปินผู้เป็นที่รู้จักในระดับอินเตอร์นั้นเป็นเรื่องที่จริงจัง ซึ่งจะดำเนินการโดยแกลเลอรีและพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกเท่านั้น ผลงานของวอร์ฮอลได้นำไปจัดแสดงที่นิวยอร์ค ลอนดอน บาร์เซโลนา โตเกียว สิงคโปร์ ไทเป ซิดนีย์และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งทางผู้บริหารของริเวอร์ ซิตี้ และอิตัลไทย รวมถึงแมนดาริน ออเรียนทัล กรุ๊ป ยังคงต้องการให้เป็นงานระดับเวิลด์คลาส โทบี้และทีมงานดูแลในเรื่องดีไซน์ของนิทรรศการซึ่งทำร่วมกับซัพพลายเออร์ในไทยและนักสะสมชาวอิตาเลียน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเลย์เอาต์ในห้องจัดแสดง สีสันบนผนัง การจัดวางชิ้นงาน ข้อมูลนิทรรศการ และที่สำคัญที่สุดคือประสบการณ์ที่ผู้ชมจะได้รับ

 

Andy Warhol

 

เส้นทางแห่งการค้นหา
เฉกเช่นหนังสือและภาพยนตร์เรื่องเยี่ยม นิทรรศการจะพาผู้ชมไปสู่การเดินทางแห่งการค้นหา การเล่าเรื่องราวจึงต้องน่าสนใจและให้ความรู้ โทบี้ได้อธิบายว่า “เราทำงานร่วมกับนักออกแบบบรรยากาศในนิทรรศการหรือ “นักเล่าเรื่อง” ที่ดีเยี่ยมที่สุด วิธีการนำสนอนิทรรศการและข้อมูลเป็นการแยกแยะการตอบสนองจากผู้ชมว่า “นี่คืออะไร” และ “ความน่าทึ่ง” ซึ่งนิทรรศการนี้แบ่งออกเป็น 4 โซนๆ แรกคือ Self-Portraits ซึ่งเกี่ยวกับตัวศิลปิน โซนที่สองคือ Celebrities นำเสนองานภาพพอร์ตเทรตที่มีชื่อเสียง โซนต่อมานำเสนอภาพปกนิตยสารและอัลบั้มเพลง และท้ายที่สุดคือโซนงานพิมพ์ซิลค์สกรีน ประติมากรรม และอื่นๆ โทบี้กล่าวว่า “ผมรู้ทันทีว่าเรามาถูกทางแล้วเมื่อมีข้อความมาจากทางอิตาลีว่า มร. โรซินีแฮปปี้มาก”

 

Andy Warhol

 

การดูแลอย่างดีเยี่ยม
นับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับแกลเลอรีที่ต้องควบคุมอุณหภูมิและระดับความชื้นอย่างแม่นยำเพื่อความปลอดภัยของชิ้นงาน มีการส่งรายงานไปยังนักสะสมทุกวันตลอดช่วงสามเดือนที่จัดงาน สำหรับการจัดส่งชิ้นงานมาจากมิลาน อันดับแรกนักสะสมต้องทราบถึงสภาพอากาศในแต่ละวันเป็นเวลาหนึ่งเดือน อุณหภูมิที่คลาดเคลื่อนเพียงนิดเดียวก็สามาถส่งผลกระทบกับชิ้นงานจริงและชิ้นงานที่มีราคาสูงลิ่ว (ผลงาน ‘Turquoise Marilyn’ ขายไปในมูลค่า 80 ล้านดอลลาร์ในปี 2007 ในขณะที่ ‘Eight Elvises’ ในราคา 100 ล้านบาทในปี 2008) นั่นหมายความว่าต้องไม่มีความผิดพลาดเกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด

 

Andy Warhol

 

จากมิลานถึงกรุงเทพฯ
หลังจากที่เลื่อนการจัดงานไปสองครั้ง ในที่สุดชิ้นงานทั้งหมดก็ส่งตรงมาจากอิตาลีช่วงกลางเดือนกรกฎาคมอันเป็นช่วงเวลาที่ตารางเที่ยวบินต่างประเทศไม่แน่นอน สิ่งนี้มักเกิดขึ้นอยู่เสมอ ในความโชคร้ายจากไวรัสโคโรนาก็มีความโชคดี การจัดงานที่ล่าช้าออกไปทำให้เราได้ร่วมงานกับหนึ่งในบริษัทโลจิสติกส์ระดับโลกที่ขนส่งงานศิลปะ พวกเขาสามารถจัดการกับทุกปัญหาให้เราได้ในช่วงที่ยากลำบากนี้ การเดินทางมาถึงของชิ้นงานนั้นเป็นความลับสุดยอด มร. ลู กล่าวว่า “เส้นทางการขนส่งจากสนามบินมายังริเวอร์ ซิตี้ ไม่เป็นที่เปิดเผย ผมรู้สึกเหมือนกำลังเล่นหนังฮอลลีวู้ดที่มีขบวนรถอารักขารถบรรทุกที่กำลังส่งของ มูลค่ามหาศาลวิ่งไปตามเส้นทางในเมืองอย่างเคร่งครัด”

 

Andy Warhol

 

อุปสรรคระหว่างการติดตั้ง
การวางตำแหน่งชิ้นงานในจุดต่างๆ ได้ผ่านตานักสะสมเป็นที่เรียบร้อย หากสถานการณ์ปกตินักสะสมหรือตัวแทนของเขาจะเดินทางมาที่แกลเลอรีเพื่อดูการติดตั้ง เขาต้องแน่ใจว่าตำแหน่งติดตั้งผลงานแต่ละชิ้นนั้นถูกต้องและตะขอทุกตัวถูกตรึงไว้อย่างดี ทีมงานทุกคนต้องสวมถุงมือสีขาว และการแขวนผลงานต้องทำด้วยความประณีตขั้นสุด แต่ว่าในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงมีข้อจำกัดเรื่องการดดินทาง นักสะสมจึงไม่สามารถเนทางมายังกรุงเทพฯ ได้ โทบี้ได้อธิบายว่า “โชคดีที่มร. โรซินีได้พบกับอาจารย์อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ ที่งานเวนิส เบียนนาเล อาจารย์ท่านนี้เป็นศิลปินอาวุโสผู้เป็นที่เคารพและอดีตคณบดี คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านได้ช่วยดูแลเรื่อง การติดตั้งและเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ให้กับเรา”

 

Andy Warhol

 

ในที่สุดก็มาถึงวันเปิดงาน
หลังจากที่ได้ซ้อมขั้นตอนอย่างละเอียดกับคณะทำงานจากสถานเอกอัครราลทูตอเมริกาประจำประเทศไทยในเรื่องลำดับการขึ้นกล่าวบนเวที และการถ่ายภาพตามจุดต่างๆ ในที่สุดวันที่ 11 สิงหาก็มาถึง โทบี้เราให้เราฟังด้วยน้ำเสียงที่ยังคงความตื่นเต้นจากวันนั้น “นี่คือครั้งแรกแต่ไม่ใช่ครั้งสุดท้าย เรายังมีอีกหลายนิทรรศการที่กำลังจะจัดขึ้นในอนาคตอันใกล้” ANDY WARHOL ยกระดับความสำเร็จของริเวอร์ ซิตี้ ไปสู่อีกขั้น นิทรรศการนี้พิสูจน์ให้เห็นว่าเราสามารถนำเสนอนิทรรศการในระดับพิพิธภัณฑ์ได้ ทีมงานของริเวอร์ ซิตี้ ได้เรียนรู้มากมายจากประสบการณ์ครั้งนี้และเราพร้อมแล้วสำหรับนิทรรศการระดับอินเตอร์ในครั้งต่อไป”

 

Andy Warhol

 

ต้องมาเห็นด้วยตาตัวเอง
โทบี้ กล่าว “สถานการณ์โรคระบาดจึงต้องเลื่อนจัดงานไปถึงสองครั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในที่สุดการได้ชมชิ้นงาน “ของจริง” เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น “เรารู้สึกภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ทำให้ ANDY ARHOL: POP ART ประสบความสำเร็จ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคนไทยจะชอบเช่นเดียวกัน จุดประสงค์ของเราคือการทำให้ศิลปะที่ยิ่งใหญ่เข้าถึงทุกคนในประเทศไทยได้ เราอยากให้คนกรุงเทพฯ และทุกคนทั่วประเทศมาที่ริเวอร์ ซิตี้ เพื่อชื่นชมและเรียนรู้จากนิทรรศการนี้”

ANDY WARHOL: POP ART เปิดให้เข้าชมแล้วตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม – 24 พฤศจิกายน 2563 ที่ RCB Galleria ชั้น 2 ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก ซื้อบัตรได้ที่ https://www.ticketmelon.com/rivercitybangkok/andywarhol หรือที่
RCB Gallery Shop ชั้น 1

บัตรสำหรับผู้ใหญ่ ราคา 400 บาท สำหรับนักศึกษาและผู้สูงอายุ (แสดงบัตร) ราคา 300 บาท หากต้องการซื้อเป็นกลุ่ม ติดต่อไดที่ shop@rivercity.co.th นอกจากนี้มีหนังสือที่ระลึกจากนิทรรศการ ราคา 500 บาท มีจำหน่ายพร้อมของที่ระลึกที่ RCB Gallery Shop ชั้น 2 ภายในนิทรรศการมี audio guide ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยฟรี (ผู้ชมเตรียมหูฟังมาเอง เนื่องจากสถานการณ์โควิด)

Leave a Reply

error: Content is protected !!