ทีเส็บ ชวนฟินให้ฉ่ำ เที่ยวเชียงใหม่หน้าฝน Green Season @Chiang Mai

Green Season @Chiang Mai

ทีเส็บ ชวนฟินให้ฉ่ำ เเอ่วเชียงใหม่ชื่นใจ ท้าหน้าฝน Green Season @Chiang Mai

เมื่อฤดูฝนมาเยือน เมฆน้อยลอยต่ำกลายร่างเป็นสีเทา ปกคลุมท้องฟ้ากว้าง พาดผ่านภูเขาสูง ดอยสุเทพซ่อนตัวใต้ปุยเมฆ หอบหิ้วความเย็นคลอเคล้าสายหมอกและปลายฝน ชุ่มฉ่ำชื่นใจ เชียงใหม่ในหน้าฝน เมืองเล็กๆที่เที่ยวได้ทั้งปีไม่มีเบื่อ

Green Season @Chiang Mai
Green Season @Chiang Mai

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ และพันธมิตรจากภาคธุรกิจเอกชน ชูแนวคิดการจัดงานไมซ์ช่วงฤดูฝน ณ จังหวัดเชียงใหม่ นำเสนอแนวคิดสร้างสรรค์เส้นทางสายไมซ์ มรดกทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น ตลอดช่วง Green Season ตั้งแต่ตอนนี้จนถึงเดือนกันยายน กับสถานที่เที่ยวหน้าฝนชวนเช็คอิน จับมือแล้วออกเดินทางไปพร้อมกัน

Green Season @Chiang Mai
Green Season @Chiang Mai
Green Season @Chiang Mai
ฉำฉาmarket

ตลาดนัดสุดชิค ปีที่ 5 ทุกวันเสาร์เรามีนัดกัน ภายใต้ต้นฉำฉายักษ์ อันเป็นที่มาของชื่อตลาด ครอบครัวใหญ่แห่งชุมชนโหล่งฮิมคาว กาดวัฒนธรรม อำเภอสันกำแพง แหล่งรวมสินค้าดี มีดีไซน์ ทำมือสุดเก๋ไก๋ กลิ่นอายเมืองเหนือ อย่างเสื้อผ้าทอจากเส้นใยธรรมชาติ เสื้อผ้ามัดย้อม เครื่องประดับ ของตกแต่งบ้าน สินค้าหัตถกรรม เน้นงานฝีมือกันจริงๆ รวมถึงร้านกาแฟ เบเกอรี่ที่ซ่อนตัวอยู่ระหว่างทาง ฟังสบายๆกับดนตรีโฟล์คซองเปิดหมวกตลอดงาน ช้อปๆชิวๆที่เดียวได้ทั้งวัน เดินกาดทั้งทีต้องเดินให้สุดซอย จะพบร้านพักเหนื่อย ให้คลายหิว ด้วยเมนูสุขภาพแสนอร่อย

มีนา มีข้าว

ร้านอาหารเมนูสุขภาพ ซ่อนกายอยู่ท้ายซอยในบรรยากาศธรรมชาติ ‘เพราะมีนา จึงมีข้าว’ คอนเซ็ปต์เก๋ๆ ที่มีข้าวเป็นพระเอก ให้เชฟนำมาสร้างสรรค์เป็นสารพัดเมนูได้อย่างโดนใจ เอาสุขภาพดีเป็นที่ตั้ง แต่ยังคงสไตล์อาหารล้านนาได้อย่างลงตัว ครั้งนี้มีโอกาสได้โชว์ฝีมือลองทำ ยำผลไม้กับข้าว 5 สี เมนูเด่นประจำร้าน มามีนา ก็ต้องมีข้าวนะคะ

Green Season @Chiang Mai
Green Season @Chiang Mai
ชุมชนบ้านป่าตาล

ชุมชนเก่าแก่ อายุกว่า 200 ปี สมัยเจ้ากาวิละเจ้าผู้ครองนครพิงค์ (เชียงใหม่) คนในชุมชนเป็นคนยองชาติพันธุ์ไตลื้อ มีชื่อหมู่บ้านเรียกตามชื่อต้นตาล ซึ่งในอดีต 2ตายายได้แผ้วถางพงไม้ใบหญ้าจนมาเจอพระธาตุเจดีย์เก่าแก่ จึงได้ชักชวนชาวบ้านมาสร้างวัดป่าตาลขึ้นที่นี่ โดยสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้นมาครอบพระธาตุเจดีย์นี้ไว้ ชื่อ “พระธาตุจอมยอง” ปัจจุบันคือ “พระนางเหลียว” พระพุทธรูปที่มีใบหน้างดงาม ยิ้มสวย จนทุกคนต้องเหลียวมองโดยเฉพาะผู้หญิง มาตามรอยไปด้วยกันค่ะ

รอบๆวัดพระธาตุจอมยองมีพิพิธภัณท์ ที่รวบรวมตำนานไว้ให้เราได้เดินเรียนรู้กันเพลินๆ ทั้งบ้านทรงโบราณ ห้องเรียนในอดีต ปั๊ปสา-ใบลาน ตลอดจนของสะสมอันเก่าแก่คับแน่นด้วยประวัติศาสตร์ของกาลเวลา

คนในชุมชนสาวๆจะนิยมทอผ้าซิ่น “ซิ่นยอง” เป็นชื่อผลิตภัณท์ผ้าทอสวยๆ สินค้าเด่นมีให้เลือกหลากหลาย หนุ่มๆจะทำงานจักรสานจากใบลาน และงานเพ้นท์หมวกทรงโบราณที่หาดูได้ยาก เป็นการรวมตัวกันโชว์ฝีมือของแต่ละบ้าน แล้วนำมารวมกันเป็นกิจกรรมให้คนในชุมชนสร้างรายได้ ได้อย่างยั่งยืน

Mileday365-TCEB

ชั่วโมงศิลปะเพ้นท์ถุงผ้ากัน กิจกรรมสนุกๆเอาใจผู้มาเยือนอย่างเราได้อวดฝีมือกันอย่างเต็มที่ ได้รับการแนะนำดีๆโดยศิลปินช่างเพ้นท์ประจำบ้านเฮือนเจ้นขุน และถุงผ้าทอสวยๆจากฝีมือกลุ่มแม่บ้าน บวกกับศิลปะในตัว รวมกันแล้วกลายเป็นผลงานทำมือชิ้นเอกใบเดียวในโลกเชียวนะ

Mileday365-TCEB

ไฮไลท์ก่อนเดินทางกลับ ต้องผ่านทางนี้ให้ได้ สะพานไม้ไผ่ลักษณะคล้ายมังกรทอดตัวยาวข้ามผ่านทุ่งนากว้างเขียวขจีตัดกับท้องฟ้าใสๆและเมฆขาวๆ ค่างหนึ่งคู่รอทักทายอยู่กลางท้องนา เราเดินผ่านจากหางไปหาหัว หรือจะหัวมาหางก็ได้ มุมไหนๆก็สวย ก่อนมาจบด้วยการเอ่ยคำอำลากับทุกคน ได้เพียงภาพความทรงจำกลับไป

นอกจากจุดเช็คอินสุดชิคได้ทั้งช้อป ชิม ชิว และเรียนรู้วัฒนธรรมล้านนาของคนในชุมชนแล้ว ทริปนี้เรายังได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุม ทีเส็บ กับแนวคิดการจัดงานไมซ์ช่วงฤดูฝน ณ จังหวัดเชียงใหม่ เพิ่มเติมความรู้คู่การท่องเที่ยวอีกด้วย

ในปีที่ผ่านมาประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมนานาชาติที่ได้รับการรับรองจาก ICCA จำนวน 193 งาน เป็นงานที่จัดในเชียงใหม่ 25 งาน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.95 หรือเป็นเมืองที่จัดงานประชุมนานาชาติมากเป็นอันดับ 2 รองจากกรุงเทพฯ นอกจากนี้จากสถิติของ ICCA ในปี 2561 เชียงใหม่เป็นเมืองที่จัดงานประชุมนานาชาติมากเป็นอันดับที่ 25 ของเอเชีย ขยับขึ้นจากอันดับ 27 ในปี 2560 และเป็นเมืองที่จัดงานประชุมนานาชาติมากเป็นอันดับที่ 110 ของโลก ขยับขึ้นจากอันดับ 130 หรือขยับขึ้น 20 อันดับ อีกทั้งยังเป็นเมืองที่จัดงานประชุมนานาชาติมากเป็นอันดับที่ 7 ของอาเซียนทั้งในปี 2560 และ 2561

นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ ทีเส็บ กล่าวว่า “ทีเส็บเดินหน้าสนับสนุนการดึงงานไมซ์สู่จังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือ ด้วยศักยภาพของเชียงใหม่ในฐานะ 1 ใน 5 หัวเมืองไมซ์หลัก หรือ MICE City ซึ่งพันธกิจต่างๆที่ผ่านมาของทีเส็บ ภายใต้ความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ส่งผลเป็นที่น่ายินดี เพราะนับตั้งแต่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่เปิดตัวขึ้นในปี 2556 จำนวนงานประชุมนานาชาติที่จัดในเชียงใหม่และเป็นงานที่ ICCA ให้การรับรองมีอัตราการเติบโตสูงถึงร้อยละ 250 จากจำนวนงาน 10 งานในปี 2556 เพิ่มเป็น 21 งานในปี 2560 และ 25 งานในปี 2561

โดยจากจำนวน 10 งานประมูลสิทธิ์ที่ทีเส็บสนับสนุนและชนะในรอบครึ่งปีแรกของปี 2652 นั้น มีงานที่จะมาจัดที่เชียงใหม่ 3 งาน ได้แก่งาน Routes Asia 2020 มีจำนวนผู้แทนจากนานาชาติ 1,000 คนและจากไทย 500 คน งาน Association for Women’s Rights in Development Forum 2020 มีผู้แทนจากนานาชาติ 2000 คนและจากไทย 200 คน และงาน Meeting of Asian Society of Cardiothoracic Anesthesia ครั้งที่ 14 มีผู้แทนจากนานาชาติ 400 คนและจากไทย 600 คน

Mileday365-TCEB

นายจิรุตถ์กล่าวเสริมว่า “ในด้านแนวคิดจัดงานไมซ์ช่วงฤดูฝน MICE Events in the Rain ทีเส็บพร้อมร่วมแรงและร่วมมือ (Partner and Collaborator) สนับสนุนจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นจุดหมายการจัดงานไมซ์ในช่วง Green Season เพราะเชื่อมั่นในทรัพยากรไมซ์ของทางจังหวัดที่มีการพัฒนาด้วยความคิดสร้างสรรค์สมัยใหม่ผนวกเข้ากับวัฒนธรรมดั้งเดิม สามารถสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้กับนักเดินทางไมซ์ ดังตัวอย่าง 2 ชุมชน คือ ชุมชนป่าตานและชุมชนโหล่งฮิมคาว ที่ทีเส็บได้ร่วมมือกับจังหวัดเชียงใหม่เพื่อนำเสนอให้กับผู้สื่อข่าวที่มาร่วมงาน”

ด้านนายคมสัน สุวรรณอัมพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านการคมนาคมขนส่ง ทั้งทางรถยนต์ เครื่องบิน และ ทางรถไฟ สำหรับทางเครื่องบิน มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเชียงใหม่เมื่อปี 2561 จำนวน 2.6 ล้านคน และเป็นชาวจีนไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน เนื่องจากมีสายการบิน 26 สาย บินตรงเข้าสู่เชียงใหม่ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศระดับภูมิภาคกว่า 200 เที่ยวบินในแต่ละวัน และมีจำนวนผู้มาเยือนโดยเฉลี่ย 40,000 คนต่อวัน ถือว่าเป็นจุดแข็งของจังหวัด

เชียงใหม่ยังมีความพร้อมในด้านการจัดการประชุมขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ ที่สามารถรองรับผู้เข้าร่วมประชุมไม่ต่ำกว่า 10,000 คน และมีโรงแรมขนาด 5 ดาวหลายแห่ง มีห้องพักจำนวนมาก สามารถรองรับนักเดินทางด้านไมซ์ได้เพียงพอตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วง “กรีนซีซั่น” ดังนั้น การพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์จึงเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัด และการดำเนินการให้เกิดการเดินทางจึงสำคัญและต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนแบบบูรณาการ ไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ และ เอกชน

นางละเอียด บุ้งศรีทอง นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคเหนือตอนบน กล่าวว่า “เชียงใหม่มีสถานที่จัดประชุมที่ได้รับการรับรองตราสัญลักษณ์มาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย (Thailand MICE Venue Standard หรือ TMVS) 16 แห่ง รวมจำนวน 56 ห้องประชุม สถานที่จัดงานพิเศษ 1 แห่ง และศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติอีก 1 แห่ง นอกจากนี้ ยังพรั่งพร้อมไปด้วยสถานที่จัดงานหลากหาย ไม่ว่าจะเป็นโรงแรมและห้องประชุมที่ครบครันด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย พื้นที่จัดการประชุมที่สร้างสรรค์ การสร้างทีมเวิร์ค กิจกรรมเพื่อการสันทนาการต่างๆ เพื่อเสริมประสบการณ์ใหม่ให้นักเดินทางกลุ่มไมซ์ที่เดินทางมายังเชียงใหม่ ทั้งช่วงก่อนและหลังงาน”

Mileday365-TCEB

ทั้งนี้ ในด้านบทบาทและกิจกรรมของ สสปน. ในการผลักดันจังหวัดเชียงใหม่นั้น ทีเส็บจะยังคงเดินหน้าร่วมทำงานกับจังหวัดเชียงใหม่สำรวจเส้นทางเพิ่มเติมหรืองานระยะที่ 2 เพื่อพัฒนา 7 Magnificent MICE Themes ให้ทางจังหวัดเชียงใหม่สำหรับใช้เป็นจุดขายให้กับนักเดินทางกลุ่มไมซ์ มีกำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการในวันที่ 5-7 กรกฎาคมนี้

งาน Lanna Expo 2019 ซึ่งจัดขึ้น ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน ถึง 7 กรกฎาคม นี้ ถือเป็นเวทีส่งเสริมและพัฒนาศิลปะและงานฝีมือท้องถิ่น นำไปสู่การสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่เศรษฐกิจในภาคเหนือ

BusonlineTicket

Leave a Reply

error: Content is protected !!