Horizon Rehab Center จัดเสวนาเชิงศึกษาชุมชน แนะแนวทางป้องกัน “เยาวชนไทย” จาก สารเสพติด-โรคเสพติดดิจิทัล

ป้องกัน “เยาวชนไทย”

ศูนย์บำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ‘Horizon Rehab Center’ ภายใต้เครือโรงพยาบาลธนบุรี จัดงานเสวนาด้านการศึกษาชุมชน ในหัวข้อ “Addiction Issues & Thailand’s Youth หรือ การใช้สารเสพติดและโรคเสพติดดิจิทัลของเยาวชนไทย” โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อต้องการให้เยาวชนที่จะก้าวไปเป็นกำลังสำคัญของประเทศได้ตระหนักรู้ถึงพิษภัย และโทษของสารเสพติด พร้อมแนะแนวทางการเรียนรู้ ให้กับผู้ปกครอง และครอบครัว เพื่อหาแนวทางการรับมือปัญหาสังคมทั้ง 2 ด้าน ทั้งปัญหาสารเสพติด และ ปัญหาการเสพติดดิจิทัล ที่กำลังทวีความรุนแรงในปัจจุบัน ให้ได้ผลลัพธ์อย่างมีประสิทธิภาพ

Horizon Rehab Center

Horizon Rehab Center

มร.เคร็ก แกกนอน (Craig Gagnon)

มร.เคร็ก แกกนอน (Craig Gagnon) ผู้อำนวยการโครงการสุขภาพจิตและสารเสพติด ศูนย์บำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ‘Horizon Rehab Center’ เปิดเผยข้อมูลน่าสนใจว่า ปัจจุบันเยาวชนทั่วโลกที่มีอายุระหว่าง 12-25 ปี จำนวน 1 ใน 9 หรือราวร้อยละ 11.4 พบว่าเคยใช้สารเสพติดมาก่อน ซึ่งนอกจากเยาวชนไทยแล้ว เยาวชนในกลุ่มวัฒนธรรมที่สาม (Third Culture Kids) ซึ่งย้ายถิ่นฐานมาเติบโตในประเทศไทยตามพ่อแม่ รวมถึงลูกครึ่งหรือเด็กที่โตมากับสังคมโรงเรียนนานาชาติที่โตมากับวัฒนธรรมที่ต่างจากคนทั่วๆไปในประเทศก็เป็นอีกกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพราะมักขาดการดูแลใกล้ชิดจากผู้ปกครองที่ต้องทำงานหนัก และโยกย้ายถิ่นฐาน ซึ่งต้องเผชิญความต่างทางวัฒนธรรมตลอดเวลาส่งผลให้เกิดปัญหาทางจิตใจ เมื่อผสมกับความอยากรู้อยากลองตามช่วงวัยแล้ว จึงอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการใช้ยาเสพติดได้ง่าย ขณะที่ การเสพติดดิจิทัลมากเกินไป ถือเป็นอีกปัญหาที่จะกระทบต่อเยาวชนได้ทั้งในด้าน “ความฉลาดทางอารมณ์” (อีคิว) การเรียนรู้สังคมพื้นฐานในชีวิตประจำวัน รวมถึงการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ทำให้เกิดผลเสียระยะยาวตามมา ซึ่งน่าตกใจว่าจากผลสำรวจพบว่าเด็กที่เสพติดสมาร์ทโฟน มีอายุน้อยสุดเพียง 2 ปีเท่านั้น

“ผมคาดหวังว่าการจัดงานเสวนาครั้งนี้ จะสามารถมีส่วนช่วยให้เยาวชน ผู้ปกครองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเยาวชน เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิดจากยาเสพติดและการเสพติดดิจิทัลของเยาวชนยิ่งขึ้น พร้อมกับเพิ่มความใส่ใจในการดูแลพฤติกรรม ร่วมเฝ้าระวัง และส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนคุณภาพ ซึ่งครั้งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งในภารกิจตามวิสัยทัศน์ของศูนย์บำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด Horizon Rehab Center ที่มุ่งหวังในการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนสังคมไทยให้เกิดความยั่งยืนต่อไป” มร.เคร็ก แกกนอน กล่าว

Horizon Rehab Center Horizon Rehab Center

Horizon Rehab Center

มร.เดวิด คัฟฟ์

ด้าน ผู้จัดการตลาดดิจิทัล ของ Horizon Rehab Center กล่าวด้วยว่า ทาง Horizon Rehab Center ก่อตั้งมาเพื่อช่วยเหลือคนที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับการเสพติดด้านต่างๆ โดยเฉพาะการใช้สารเสพติด “ปัญหายาเสพติด ไม่ใช่แค่ปัญหาที่เกิดในประเทศไทยเท่านั้น แต่ในหลายๆ ประเทศ ทั่วโลกต่างก็ประสบปัญหาเดียวกันนี้เช่นกัน ผมขอยกตัวอย่างในปี 2562 คนไทยอายุระหว่าง 15-24 ปี 39% มีส่วนเกี่ยวข้องหรือใช้สารเสพติดและมีเยาวชนไทยในวัยระหว่าง 15-19 ปีใช้สารเสพติดกว่า 2.7 ล้านคน ซึ่งมีกว่า 300,000 คนต้องเข้ารับการบำบัด ซึ่งตัวเลขที่ว่านี้ยังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปี และนอกจากยาเสพติดแล้ว เรายังพบว่า ยังมีการเสพติดที่เรียกว่า การเสพติดทางพฤติกรรม (Process Addiction) ไม่ว่าจะเป็น ติดการพนัน ติดเกมส์ ติดอินเตอร์เน็ต และติดสื่อดิจิทัลต่างๆ ที่ทางประเทศอย่าง เกาหลี และ ญี่ปุ่น ได้จัดให้เป็นโรคชนิดหนึ่งแล้วในวันนี้”

Horizon Rehab Center

สำหรับแนวทางการบำบัดของทางศูนย์ จะใช้วิธีบำบัดในแบบ Western Style ที่มีการทำกระบวนการทดสอบ และประสบผลสำเร็จในการบำบัดจริงมาแล้ว “ซึ่งผมก็ต้องขอขอบคุณเครือโรงพยาบาลธนบุรี ที่ให้การสนับสนุนในเรื่องนี้กับทางศูนย์มาตลอด โดยเฉพาะแนวทางการบำบัดในแบบของศูนย์ฯ ที่เป็น แบบ Western Style โดยมีการทดสอบ และประสบผลสำเร็จจริงมาแล้วในต่างประเทศ ซึ่งไม่เพียงจะช่วยให้เกิดการฟื้นฟูทางด้านร่างกายให้ดีขึ้นเท่านั้น แต่เรายังมีแนวทางการฟื้นฟูสภาพจิตใจให้กลับมาพร้อมที่จะออกไปใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง และไม่หันกลับไปเสพติดสิ่งเหล่านั้นอีก ซึ่งในแต่ละขั้นตอน จะมีแพทย์ นักกิจกรรม และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเฝ้าติดตามพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด รวมถึงการร่วมพูดคุยกับผู้ปกครอง หรือ ครอบครัว เพื่อร่วมกันดูแล และสร้างความเข้าอกเข้าใจในตัวของผู้เข้ารับการบำบัดอย่างดีที่สุด” มร.เดวิด คัฟฟ์ กล่าว

🔴LIVE : บรรยากาศ Horizon Rehab Center จัดเสวนาเชิงศึกษาชุมชน ป้องกัน “เยาวชนไทย” จาก สารเสพติด-โรคเสพติดดิจิทัล

You may also like

Leave a Reply