Tagged: โรชไทยแลนด์

  • Roche

    ตัวเลือกการรักษาผู้ป่วยโควิด ด้วยภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ NmAbs แพทย์ผู้เชี่ยวชาญชี้ ช่วยลดภาระ “เตียงเต็ม” จากผลการศึกษาในต่างประเทศ

    สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมทั้งทางด้านทรัพยากรการรักษาและขีดความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งนี้การรักษาผู้ป่วยให้หายจากโรคและออกจากโรงพยาบาลได้เร็วขึ้น เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยลดภาระเตียงเต็มที่ประเทศไทยเผชิญวิกฤตอยู่ในขณะนี้ ยาแอนติบอดี ค็อกเทล (Antibody Cocktail) ที่จัดอยู่ในกลุ่มยาภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ “Neutralizing Monoclonal Antibodies” (NmAbs) ซึ่งได้รับการอนุมัติใช้แบบมีเงื่อนไขภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการใช้รักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในรายที่เหมาะสมตามการพิจารณาของแพทย์ ซึ่งมีข้อมูลจากผลการทดลองทางคลินิกและข้อมูลการใช้จริงในสหรัฐอเมริกาที่ช่วยลดระยะเวลาการเข้ารักษาในโรงพยาบาลได้ ศ. นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มยาภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์  อย่างเช่น แอนติบอดี ค็อกเทลว่า “ยาแอนติบอดี ค็อกเทลเป็นแอนติบอดีชนิดโมโนโคลนอล (monoclonal) สองชนิดที่ใช้ควบคู่กัน...

  • โรช ไทยแลนด์

    ‘โรช ไทยแลนด์’ แบ่งเบาภาระผู้ดูแล โดยร่วมกับ SCB ขยายโอกาสเข้าถึงการรักษาแก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งและฮีโมฟีเลีย

    บริษัท โรช ไทยแลนด์ จำกัด ผู้นำระดับโลกในอุตสาหกรรมยาเพื่อการดูแลสุขภาพและการรักษาแบบจำเพาะบุคคล ประกาศจับมือกับธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) นำร่องบริการสินเชื่อค่าผลิตภัณฑ์รักษาโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) หวังแบ่งเบาความกังวลด้านภาระค่าใช้จ่ายและเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ภายใต้โครงการ Roche Patient Support Solutions (RPSS) สินเชื่อค่าผลิตภัณฑ์รักษาโรคมะเร็ง และฮีโมฟีเลีย ซึ่งมอบความช่วยเหลือผู้ดูแล และให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษาที่ตอบโจทย์และตรงจุด ช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น ปัจจุบัน โรคมะเร็งถือเป็นโรคร้ายและหนึ่งในวิกฤตสุขภาพ ที่คุกคามชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนทั่วโลกและในประเทศไทยมานานหลายปี ในปี 2563 โรคมะเร็งได้คร่าชีวิตคนไทยกว่า 124,866 คน หรือคิดเป็น 14 คนต่อชั่วโมง[1] โดยอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอีก 68.2% ในอีกสองทศวรรษข้างหน้า[2] ดังนั้นการเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพอย่างทันท่วงที จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิต ช่วยให้ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงลดความสูญเสียของทรัพยากรมนุษย์อันเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ สินเชื่อดังกล่าวยังครอบคลุมถึงโรคฮีโมฟีเลียหรือโรคเลือดออกง่าย...

error: Content is protected !!