Tagged: Roche

  • Roche

    รู้หรือไม่ คุณอาจเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด แม้ไม่เคยสูบบุหรี่ หรือหยุดสูบบุหรี่มานานแล้ว?

    ตามประกาศขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่กำหนดให้วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก บริษัท โรช ไทยแลนด์ จำกัด จึงจัดงานแถลงข่าวในหัวข้อ “รู้หรือไม่ คุณอาจะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด แม้ไม่เคยสูบบุหรี่หรือหยุดสูบบุหรี่มานานแล้ว?” เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงอันตรายและความสูญเสียทางสุขภาพที่เกิดจากควันบุหรี่ และเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการป้องกัน การคัดกรอง และการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดระยะเริ่มต้นด้วยการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องอกแบบใช้รังสีต่ำ (Low Dose Computerized Tomography Scan) ภายในงานได้รับเกียรติจาก นายแพทย์มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ และ นายแพทย์นรินทร สุรสินธน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและป้องกัน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ รวมถึงผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะเริ่มต้นที่เคยมีประวัติสูบบุหรี่จัดต่อเนื่องเป็นเวลานาน และผู้ดูแลผู้ป่วยมะร็งปอดซึ่งไม่เคยมีประวัติสัมผัสกับบุหรี่มาก่อน มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การตรวจคัดกรองและการรักษามะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น สถิติ เผยว่าในปี พ.ศ. 2563 โรคมะเร็งปอดมีอุบัติการณ์และอัตราการเสียชีวิตสูงสุดเป็นอันดับ 2เมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่น...

  • Roche

    ก้าวสู่ยุคใหม่ แห่งการประเมินเทคโนโลยีสุขภาพไทย แนะยกระดับผลลัพธ์การรักษามะเร็ง เพิ่มโอกาสการเข้าถึงนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ทันท่วงที

    ปัจจุบัน มะเร็งยังคงเป็นปัญหาหลักของประเทศไทยที่เพิ่มภาระทางสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ โดยมีแนวโน้มที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าโรคหัวใจ โรคเมตาบอลิซึม และเอชไอวี/เอดส์ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนและความก้าวหน้าของประเทศ จากความตระหนักถึงความสำคัญของการยกระดับมาตรฐานการดูแลรักษาและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยมะเร็ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ จึงเกิดการจัดงานประชุมใน “โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Health Technology Assessment (HTA)” ภายใต้หัวข้อ การประเมินเทคโนโลยีทางด้านสุขภาพในมุมมองใหม่ : บทบาทของการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพในการรองรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ เพื่อรับมือกับความท้าทายในการขยายโอกาสการเข้าถึงนวัตกรรมและยารักษามะเร็งในประเทศไทย โดยศูนย์การเรียนรู้และวิจัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้จัดประชุมกับผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา รวมถึงคณะผู้กำหนดนโยบายนักวิชาการ และแพทย์ ภายในประเทศ ภูมิภาค...

  • Roche

    ตัวเลือกการรักษาผู้ป่วยโควิด ด้วยภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ NmAbs แพทย์ผู้เชี่ยวชาญชี้ ช่วยลดภาระ “เตียงเต็ม” จากผลการศึกษาในต่างประเทศ

    สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมทั้งทางด้านทรัพยากรการรักษาและขีดความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งนี้การรักษาผู้ป่วยให้หายจากโรคและออกจากโรงพยาบาลได้เร็วขึ้น เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยลดภาระเตียงเต็มที่ประเทศไทยเผชิญวิกฤตอยู่ในขณะนี้ ยาแอนติบอดี ค็อกเทล (Antibody Cocktail) ที่จัดอยู่ในกลุ่มยาภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ “Neutralizing Monoclonal Antibodies” (NmAbs) ซึ่งได้รับการอนุมัติใช้แบบมีเงื่อนไขภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการใช้รักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในรายที่เหมาะสมตามการพิจารณาของแพทย์ ซึ่งมีข้อมูลจากผลการทดลองทางคลินิกและข้อมูลการใช้จริงในสหรัฐอเมริกาที่ช่วยลดระยะเวลาการเข้ารักษาในโรงพยาบาลได้ ศ. นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มยาภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์  อย่างเช่น แอนติบอดี ค็อกเทลว่า “ยาแอนติบอดี ค็อกเทลเป็นแอนติบอดีชนิดโมโนโคลนอล (monoclonal) สองชนิดที่ใช้ควบคู่กัน...

  • Roche

    จับตาอนาคตแห่งการดูแลสุขภาพ และการรักษาแบบจำเพาะบุคคล เมื่อการรักษาผู้ป่วยแบบเหมารวม อาจไม่ใช่คำตอบอีกต่อไป

    ในอดีต ผู้ป่วยทุกรายที่ป่วยด้วยโรคชนิดเดียวกันจะต้องผ่านขั้นตอนการตรวจคัดกรอง วินิจฉัยและรักษาตามอาการบนมาตรฐานเดียวกัน (One-size-fits-all approach) อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าทางการแพทย์ได้นำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีส่วนปฏิวัติแนวทางการดูแลสุขภาพ ขยายทางเลือกการรักษาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย โดยหนึ่งในความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ก่อให้เกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญคงหนีไม่พ้น การดูแลสุขภาพและการรักษาแบบจำเพาะบุคคล วันนี้ เราจะมาทำความรู้จักและเจาะลึกเกี่ยวกับความสำคัญของการดูแลสุขภาพและการรักษาแบบจำเพาะบุคคล และจะดีแค่ไหนหากประเทศไทยสามารถก้าวสู่การดูแลสุขภาพและการรักษาแบบจำเพาะบุคคลได้อย่างเต็มรูปแบบในอนาคต การดูแลสุขภาพรักษาแบบจำเพาะบุคคล คืออะไร? การดูแลสุขภาพรักษาแบบจำเพาะบุคคล หรือ Personalised Healthcare เกิดจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาขับเคลื่อนการพัฒนาความรู้ทางพันธุกรรมและการเจาะลึกความหลากหลายของโรคชนิดต่าง ๆ ด้วยแนวคิดที่เน้นการเก็บข้อมูลจากพื้นฐานทางสุขภาพและประวัติการรักษาของผู้ป่วยมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรม จนค้นพบว่าถึงแม้ผู้ป่วยแต่ละรายจะป่วยจากโรคชนิดเดียวกันและแสดงอาการเหมือนกัน ก็อาจมีสาเหตุของโรคต่างกัน ดังนั้นการใช้แนวทางการดูแลสุขภาพและการรักษาที่สอดคล้องกับข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยแต่ละรายจึงนับเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะร่างกายของแต่ละคนล้วนมีความต่างด้านพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และการใช้ชีวิต...

error: Content is protected !!