ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก เปิดนิทรรศการ The Dance in
Concept
“เคว้งคว้าง” คือสภาวะหรือสถานภาพระหว่างสองสิ่งสภาวะเช่นนี้คล้ายกับการเดินไปสู่ทะเลทรายอย่างไร้เข็มทิศ ท่ามกลางความว่างเปล่า ไม่มีสิ่งใดนอกจากทราย เราจึงรู้สึกหลงทาง ไม่แน่นอน และไม่ปลอดภัย ความหวาดกลัวอันท่วมท้นเข้ามาครอบงำเมื่อสภาวะเช่นนี้เกี่ยวข้องกับความทะยานอยาก ความฝัน การงาน และความสัมพันธ์ การระบาดของโควิด-19 ทำให้เราเข้าสู่สภาวะเคว้งคว้างด้วยวิถีทางต่างๆ แทนที่จะกังวลในสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ ทำไมเราจึงไม่เรียนรู้ที่จะชื่นชอบในสิ่งที่เราไม่รู้?
นิทรรศการ The Dance in Between
เป็นการยกย่องสภาวะเคว้งคว้างซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ประสบและมักถูกมองข้าม ในขณะที่ช่วงเวลาแห่ง “พื้นที่สีเทา” อาจจะทำให้อึดอัดใจ นิทรรศการนี้ชวนให้ผู้ชมได้มีปฏิสัมพันธ์กับความคลุมเครือของ “สิ่งที่ไม่ดำและไม่ขาว” อย่างสนุกสนานและแฝงไว้ซึ่งความคิด ฮิโรโกะ หงษ์หยก (Hiroko Hongyok) ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานในนิทรรศการนี้เติบโตมากับคำสอนของนิกายเซน วิธีการทำงานของเขาได้แรงบันดาลใจจากสุนทรียะในอุดมคติของญี่ปุ่นที่เรียกว่า “Ma” (間) หรือ “มะ” อันหมายถึง “ที่ว่างระหว่างสองสิ่ง ความเงียบที่อยู่ระหว่างเสียง ความนิ่งระหว่างการเคลื่อนไหว” ศิลปินนำเสนอคำว่า “มะ” (間) ผ่านรูปทรงนามธรรมที่เล่นกับขอบเขตแห่งการแบ่งขั้วอย่างตั้งใจ บินวนระหว่างการขยายและการหดตัว การเปิดเผยและการซ่อนเร้น ภายในและภายนอก การเคลื่อนไหวและความนิ่ง เฉกเช่นการเต้น ฮิโรโกะ เชิญให้ผู้ชมค้นพบกับสภาวะ “เคว้งคว้าง” และมีความสุขกับทุกชั่วขณะของชีวิต เรามาเต้นกันมั้ย?
เกี่ยวกับศิลปิน
ฮิโรโกะสงสัยใคร่รู้ในเรื่องการปะติดปะต่อของพื้นที่ที่ทำให้เธอได้เห็นถึงความตึงเครียดระหว่างการเปิดเผยและการปกปิด การขยายและการหดตัว เธอจึงพยายามสร้างสรรค์พื้นที่แห่งนามธรรมขึ้นมาเพื่อสื่อถึงความเชื่อมโยงกันของทุกสิ่ง ทั้งการเคลื่อนไหวในความแน่นิ่งและความแน่นิ่งในการเคลื่อนไหว เธอมักได้แรงบันดาลใจจากปรัชญาแห่งสุนทรียะญี่ปุ่นในแง่ที่ว่าศิลปะคือพาหนะไปสู่ประสบการณ์ทางปรัชญาว่าด้วยความจริงในธรรมชาติ ฮิโรโกะแสวงหาวิถีทางอันเหมาะเจาะกับพื้นที่ที่ขยายออกไปเพื่อการไตร่ตรอง หลังจากจบการศึกษาจากวิทยาลัยแห่งวิคตอเรียนของเมืองเมลเบิร์นทางด้านวิจิตรศิลป์ ฮิโรโกะได้รับการคัดเลือกในหมู่บัณฑิตที่จบจากสถาบันที่มีชื่อเสียงทั่วรัฐวิคตอเรีย เธอได้จัดแสดงนิทรรศการกลุ่มเพื่อแสดงความสามารถของศิลปินรุ่นใหม่ที่น่าจับตามองในปีนั้น แกลเลอรีท้องถิ่นแห่งหนึ่งชื่นชอบในการใช้รูปทรงที่ไม่เหมือนใครในงานจิตรกรรมของเธอ จึงเสนอให้เธอจัดนิทรรศการเดี่ยวเมื่อปีที่แล้ว แต่ด้วยสถานการณ์อันคาดไม่ถึงจากการระบาดของโควิด-19
อาจทำให้เธอเดินทางกลับไปออสเตรเลียไม่ได้ ในระหว่างนี้เธอมีสตูดิโอเล็กๆ อยู่ที่กรุงเทพฯ จึงสามารถสร้างงานจิตรกรรมขนาดใหญ่เพื่อให้เธอได้ทดลองและไตร่ตรองเมื่อได้สร้างงานที่เกี่ยวกับรูปทรงนามธรรม ถือเป็นความลงตัวที่ “The Dance in Between” นิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกของเธอที่ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก เป็นทั้งผลลัพธ์และบทกวีแด่ช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนนี้
Recent Comments