สสว. มุ่งยกศักยภาพ SME กรุงเทพฯ และปริมณฑล ผ่านระบบ BDS ผลักดันนำแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียวไปปรับใช้ในธุรกิจ สอดรับเป้าหมายประเทศไทย มุ่ง Net Zero GHG Emission ในปี 2065

สสว.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มุ่งมั่นพัฒนาผู้ประกอบการ SME จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อผลักดันให้นำแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียวไปปรับใช้ในธุรกิจ (Green Transformation) ในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในหัวข้อ “แนวทางการคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Footprint) โดยการใช้ GHG Platform ของสถานประกอบการ” ภายใต้โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS (Business Development Service) ปีงบประมาณ 2567 เพื่อความเป็นต่อในเชิงธุรกิจ ทั้งการจำหน่ายในประเทศและส่งออก โดยจัดกิจกรรมพร้อมกัน 2 แห่ง ได้แก่ ห้อง VIP 2 ชั้น M โรงแรมเดอะบาซาร์ แบงค็อก กรุงเทพมหานคร และห้อง Jasper 1 โรงแรมแกรนด์ สไตลิช คอนเวนชั่น นนทบุรี

สสว.

ภายในงานเมื่อเร็วๆ นี้ (9-10 ก.ย. 67) ได้รับเกียรติจาก คณะผู้บริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และผู้บริหารหน่วยงานพันธมิตร ทั้งภาครัฐ และเอกชน ร่วมนำเสนอรายละเอียด เริ่มด้วยการแนะนำกิจกรรมของโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS พร้อมสิทธิประโยชน์ที่ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับความสนับสนุน จากระบบ DBS นี้ ซึ่ง สสว. อุดหนุนค่าใช้จ่ายให้ในการพัฒนา SME แบบร่วมจ่ายในสัดส่วน 50-80% ตามขนาดของธุรกิจ

สสว.

ดร.ปณิตา ชินวัตร รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า “ในปี 2567 นี้ สสว.ได้มีการปรับรูปแบบการดำเนินการให้สะดวกขึ้น หลากหลายขึ้น และมุ่งเป้ามากขึ้น ถือเป็นอีกหนึ่งบริการที่ผ่านการอัปเกรดอย่างเข้มข้น โดยระบบ DBS นี้ สสว. จะให้เงินอุดหนุนปรับปรุงกิจการใน 4 ด้าน ที่สำคัญ ดังนี้ 1.ด้านมาตรฐานสินค้าและบริการ เช่น การเตรียมความพร้อมเข้าสู่มาตรฐาน เพื่อการขึ้นทะเบียน ใบรับรอง การประเมินสถานที่ การตรวจวิเคราะห์ประเมินต่างๆ, การขอมาตรฐาน, ใบอนุญาต รวมถึงการต่ออายุ เช่น ใบอนุญาต อย., GMP, ISO รวมทั้ง การใช้บริการกับโรงงานต้นแบบ หรือ Prototype Plant หรือที่มีลักษณะเดียวกัน 2.ด้านการพัฒนาช่องทางการตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ เช่น การเข้าร่วมงานแสดงสินค้า, การเจรจาการค้าหรือจับคู่ธุรกิจ, การส่งเสริมหรือผลักดันเข้าสู่การเป็นเครือข่ายสินค้า และหรือบริการ กับธุรกิจในต่างประเทศ เป็นต้น 3.ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น บริการของอุทยานวิทยาศาสตร์ทุกประเภท บริการพัฒนาสินค้าและบริการกลุ่มประเภท BCG หรือด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงบริการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เครื่องหมายการค้า และการออกแบบสื่อต่างๆ เป็นต้น 4.ด้านการพัฒนาและบริหารธุรกิจ เช่น บริการด้านการอบรมเชิงลึกเพื่อให้ได้รับใบรับรองหรือใบประกาศนียบัตร การอบรมแบบ In-House Training บริการการ Implement การตรวจสอบ ติดตาม ประเมิน การใช้เครื่องมือ เพื่อวัดความพร้อมหรือวัดความสำเร็จ”

สสว.

ดร.ปณิตา กล่าวด้วยว่า ปัจจุบัน มีผู้ให้บริการทางธุรกิจ (BDSP) ซึ่งเป็นหน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนประมาณ 200 หน่วยงาน ที่เข้ามาขึ้นทะเบียน และเข้ามาให้บริการแล้วกว่า 90 หน่วยงาน ครอบคลุมกว่า 400 บริการ สำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “แนวทางการคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Footprint) โดยการใช้ GHG Platform ของสถานประกอบการ” เป็นหนึ่งใจกิจกรรม ที่ สสว.จัดขึ้น เพื่อยกศักยภาพและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ ในวันแรก วิทยากรได้นำเสนอ เนื้อหาเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อสังคม ภาคธุรกิจ และระดับประเทศ, กลไกเชิงนโยบายและการสนับสนุนในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม, ขั้นตอนการกำหนดกลยุทธ์ในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมระดับองค์กรในเชิงปฏิบัติ, ขั้นตอนสำคัญและหลักการในการจัดทำรายงาน Carbon Footprint ขององค์กร, ขั้นตอนการลด Carbon Footprint องค์กรผ่าน Decarbonization Solution ในตลาด, Case Study การลด Carbon Emission ขององค์กร Decarbonization Solution และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการดำเนินการ ลดการ Carbon Emission ขององค์กร

สสว.

กิจกรรมวันที่สอง นำเสนอ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อสังคม ภาคธุรกิจ และ ในต่างประเทศ, วิธีการคำนวณ Carbon Footprint ขององค์กรตามมาตรฐานสากล, Case Study ของคำนวณ Carbon Footprint ขององค์กรตามมาตรฐานสากล, ทดสอบผู้ร่วมสัมมนาในการคำนวณ Carbon Footprint ขององค์กร, การแนะนำ Carbon Footprint Reporting Platform, Workshop การใช้ Carbon Footprint Reporting Platform ในการคำนวณ Scope 1-2 และปิดท้ายด้วยการนำเสนอผลการคำนวณ Carbon Footprint Organization โดยผู้เข้าอบรม

กิจกรรมครั้งนี้ ทำให้ผู้ประกอบการที่รับการอบรม ได้รู้ถึงแนวโน้มของโลก ที่ให้ความสำคัญเรื่องการลดคาร์บอน จากการทำธุรกิจ จำเป็นต้องมีการรับรองด้านการลดคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เช่น ในกระบวนการผลิตปล่อยคาร์บอนเท่าไร (CFC) และตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าไร (CFP) ขณะที่ประเทศไทยเอง มีเป้าหมายมุ่งไปที่ Net Zero GHG Emission หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี 2065

สสว.

ทั้งนี้ การขึ้นทะเบียนและการรับรองโครงการลดก๊าซเรือนกระจกของผู้ประกอบการ บริการดังกล่าวอาจมีค่าบริการค่อนข้างสูง หากผู้ประกอบการได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการใช้บริการผ่านระบบ BDS จะทำให้สามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้ 50-80% หรือ สูงสุดถึง 200,000 บาท

สำหรับผู้ประกอบการ ที่สนใจสมัครรับความสนับสนุนจากโครงการฯ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.02-298-3051 หรือ โทร.085-836-6963 และ https://bds.sme.go.th/

Leave a Reply