Category: Life Health

  • จิตแพทย์

    จิตแพทย์แนะดูแลจิตใจผู้ป่วย ในช่วงโควิด

    ความกลัว ความเครียด หรือวิตกกังวล เป็นการตอบสนองที่ปกติต่อการถูกคุกคาม สิ่งที่เราไม่รู้ หรือความไม่แน่นอน ดังนั้นเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนจะมีประสบการณ์ดังกล่าวเมื่อมีการแพร่ระบาดของ โควิด -19 รวมทั้งผู้ป่วยจิตเวชที่มีความผิดปกติจากการทำงานของสมอง ทั้งโรคสมาธิสั้นในเด็ก โรคไบโพลา และโรคจิตเภท นอกจากจะต้องการความเห็นใจแล้ว การอยู่ในความดูแลของแพทย์เป็นส่วนสำคัญมากที่จะช่วยให้คนไข้ไม่สูญเสียโอกาสและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ โรคสมาธิสั้นเป็นโรคทางจิตเวชที่มีความชุกที่เกิดขึ้นในเด็กมากที่สุด เกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ทั้งทางชีวภาพ ได้แก่ พันธุกรรม ระบบประสาทซึ่งพบว่าส่วนหน้าทำงานผิดปกติ โดยเฉพาะบริเวณที่เกี่ยวกับการคิด การวางแผน การจัดลำดับ การควบคุมตนเอง รวมถึงมีสารในสมองที่สำคัญบางตัวน้อยกว่าคนทั่วไป นอกจากนี้ การเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อมทำให้เด็กเป็นสมาธิสั้นมากขึ้น เช่น การเลี้ยงดูที่ตามใจมากจนไม่มีระเบียบวินัย และการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต่างๆ...

  • โรงพยาบาลนวเวช

    เปิดตัวโรงพยาบาลใหม่ “นวเวช” ย่านเกษตรนวมินทร์ รัชดา-รามอินทรา มุ่งบริการที่มีมาตรฐาน เข้าถึงง่าย ประหยัดเวลา

    “นวเวช” โรงพยาบาลแห่งใหม่ย่านเกษตรนวมินทร์ รัชดา-รามอินทรา ได้ฤกษ์เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2564 ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการด้วยบริการทางการแพทย์ที่มีมาตรฐาน เข้าถึงง่าย ชูความโดดเด่นเรื่องเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ในย่านเกษตรนวมินทร์ รัชดา-รามอินทรา นายไกรวิน ศรีไกรวิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นวเวช อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โรงพยาบาลนวเวชเกิดขึ้นจากการร่วมทุนของ 3 กลุ่มทุนใหญ่ คือ นายณพ ณรงค์เดช ถือหุ้นในสัดส่วน 51% บริษัท สหยูเนี่ยน จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นในสัดส่วน 27% และเครือสหพัฒน์ ถือหุ้นในสัดส่วน 18% โดยใช้งบประมาณการลงทุนกว่า 4,000 ล้านบาท...

  • Work from Home

    Work from Home อย่างไร ไม่ส่งผลร้ายต่อกระดูกและข้อ

    ในห้วงเวลาที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับโรค Covid-19 ที่กำลังระบาดในขณะนี้ มีหลายคนต้องปรับตารางการทำงาน เพื่อรองรับกับสถานการณ์การระบาด และจำเป็นต้องทำงานจากที่บ้าน หรือที่เรียกกันว่า Work from Home ซึ่งการที่ต้องเปลี่ยนสถานที่จากที่ทำงานมาเป็นที่บ้านก็มีบางปัจจัยที่อาจทำให้เกิดความไม่สบาย หรือเกิดความเจ็บป่วยของโรคทางกระดูกและข้อได้ บทความชิ้นนี้จึงขอนำข้อแนะนำจาก นพ.ศรัณย์ ก่อวุฒิกุลรังษี แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนวเวช มาบอกเล่า ลองมาดูกันว่าความไม่สบายและความเจ็บป่วยที่กระดูกและข้อที่เกิดจากการ Work from Home มีอะไรได้บ้าง และเราจะป้องกันได้อย่างไร อาการที่เกิดจาก Work from Home ปวดหลังง่ายขึ้น เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่บ้านไม่เหมือนที่ทำงาน บางคนไม่มีโต๊ะหรือเก้าอี้ที่เหมาะสำหรับการทำงาน เช่น นั่งทำงานที่โต๊ะกินข้าว ซึ่งเก้าอี้จะปรับระดับไม่ได้ และที่รองนั่งอาจจะแข็ง พนักพิงไม่เหมาะสำหรับการนั่งนาน ๆ ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ง่ายกว่านั่งเก้าอี้ที่ทำงาน บางคนอยู่ในห้องพัก...

  • COVID-19

    โรคไวรัสโควิด-19 เมื่อต้องรักษาในห้อง ICU รักษาอย่างไร

    แนวทางการรักษาโรคไวรัสโควิด-19 หลัก ๆ จำเป็นต้องให้ยาต่างๆให้ถูกช่วงเวลา เพราะถ้าให้ยารักษาในช่วงเวลาที่ผิด ก็จะไม่ได้ผล นายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน (หมอแทน) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอดและเป็นอาจารย์แพทย์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า การรักษาโรคไวรัสโควิด-19 ในระยะแรกของการติดเชื้อมีเป้าหมายเพื่อลดจำนวนไวรัสให้เร็วที่สุด โดยการให้ยาต้านไวรัส ส่วนระยะที่ 2 ผู้ป่วยจะเริ่มเกิดการอักเสบของร่างกาย เนื่องจากการทำงานมากผิดปกติของภูมิคุ้มกันร่างกาย ทำให้อวัยวะต่างๆโดยเฉพาะปอดทำงานผิดปกติ การรักษาในระยะนี้ต้องให้ยาเพื่อไประงับภูมิคุ้มกันที่ทำงานมากเกินไป เช่น ยาสเตียรอยด์   ระยะที่ 3 ถือเป็นช่วงการรักษาที่สำคัญ ระยะนี้มีเวลาสั้นมากจำเป็นต้องวินิจฉัยรักษาให้ทัน จุดเด่นคือผู้ป่วยอาการกำลังแย่ลงมาก การหายใจกำลังจะล้มเหลว และมีการอักเสบในร่างกายพุ่งขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว แพทย์จะให้ยาบางตัวที่มีความจำเพาะกับภูมิคุ้มกันมาก โดยยานี้จะไปยับยั้งสารก่อการอักเสบ Interleukin-6 เพื่อไปหยุดการทำงานที่ผิดปกติของภูมิต้านทานที่ทำให้ปอดอักเสบ ซึ่งถ้าสามารถให้ยาถูกช่วงเวลาและทันท่วงที อาการผู้ป่วยก็จะดีขึ้น อาจจะสามารถทำให้หลีกเลี่ยงการใส่เครื่องช่วยหายใจได้ ยาตัวนี้หากให้ไม่ถูกช่วงเวลา คือ...

  • เจตนิน Jetanin

    คุณแม่ต้องรู้! รับวัคซีนโควิด-19 แล้ว ทำให้มีบุตรยากจริงหรือ?

    การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ยาวนานและมีการทวีความรุนแรงของเชื้อโรคมากขึ้นในปัจจุบัน อาจส่งผลต่อการตัดสินใจเรื่องการวางแผนมีบุตรของหลายคู่แต่งงานที่กังวลในเรื่องความปลอดภัยของทารกในครรภ์ รวมถึงความพร้อมด้านสุขภาพของคุณแม่และในอีกหลายปัจจัย ทำให้หลายครอบครัวจึงเลือกที่จะเลื่อนโปรแกรมการรักษาภาวะมีบุตรยากเพื่อรอจนกว่าจะมีความมั่นใจในการรับวัคซีนโควิด-19 แพทย์หญิงสิริสุข อุ่ยตระกูล สูตินรีแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลเจตนิน กล่าวว่า ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโควิด-19 หลากหลายยี่ห้อที่ได้ทำการทดลองในสัตว์ที่ตั้งครรภ์ ซึ่งยังไม่พบผลข้างเคียงที่ผิดปกติ เช่น วัคซีนจากโมเดอร์นา (Moderna), ไฟเซอร์ (Pfizer) และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson) แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาผลข้างเคียงของวัคซีนในผู้ที่ตั้งครรภ์ค่อนข้างมีข้อจำกัดและยังมีจำนวนไม่มากนัก ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐ (Centers for Disease Control...

  • โรคหืด

    “โรคหืด” อัตราการสูญเสียมากกว่าโควิด – 19”

    เนื่องใน “วันโรคหืดโลก : World Asthma Day 2021” ซึ่งองค์การอนามัยโลก(WHO) และองค์การหืดโลก กำหนดให้ปีนี้ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ปลดล็อคความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคหืด : Uncovering Asthma Misconception” ศ.ดร. พญ.อรพรรณ โพชนุกูล นายกสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย(TAC) จึงใช้โอกาสนี้รณรงค์ย้ำเตือนให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคหืด และการดูแลตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิต ปัจจุบันพบว่าอัตราการป่วยของผู้ป่วยโรคหืดลดลง แต่อัตราการตายจากอาการร่วมของโรคหืดกลับเพิ่มขึ้น เห็นได้จากข้อมูลของ worldlifeexpectancy.com...

  • Roche

    จับตาอนาคตแห่งการดูแลสุขภาพ และการรักษาแบบจำเพาะบุคคล เมื่อการรักษาผู้ป่วยแบบเหมารวม อาจไม่ใช่คำตอบอีกต่อไป

    ในอดีต ผู้ป่วยทุกรายที่ป่วยด้วยโรคชนิดเดียวกันจะต้องผ่านขั้นตอนการตรวจคัดกรอง วินิจฉัยและรักษาตามอาการบนมาตรฐานเดียวกัน (One-size-fits-all approach) อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าทางการแพทย์ได้นำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีส่วนปฏิวัติแนวทางการดูแลสุขภาพ ขยายทางเลือกการรักษาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย โดยหนึ่งในความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ก่อให้เกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญคงหนีไม่พ้น การดูแลสุขภาพและการรักษาแบบจำเพาะบุคคล วันนี้ เราจะมาทำความรู้จักและเจาะลึกเกี่ยวกับความสำคัญของการดูแลสุขภาพและการรักษาแบบจำเพาะบุคคล และจะดีแค่ไหนหากประเทศไทยสามารถก้าวสู่การดูแลสุขภาพและการรักษาแบบจำเพาะบุคคลได้อย่างเต็มรูปแบบในอนาคต การดูแลสุขภาพรักษาแบบจำเพาะบุคคล คืออะไร? การดูแลสุขภาพรักษาแบบจำเพาะบุคคล หรือ Personalised Healthcare เกิดจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาขับเคลื่อนการพัฒนาความรู้ทางพันธุกรรมและการเจาะลึกความหลากหลายของโรคชนิดต่าง ๆ ด้วยแนวคิดที่เน้นการเก็บข้อมูลจากพื้นฐานทางสุขภาพและประวัติการรักษาของผู้ป่วยมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรม จนค้นพบว่าถึงแม้ผู้ป่วยแต่ละรายจะป่วยจากโรคชนิดเดียวกันและแสดงอาการเหมือนกัน ก็อาจมีสาเหตุของโรคต่างกัน ดังนั้นการใช้แนวทางการดูแลสุขภาพและการรักษาที่สอดคล้องกับข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยแต่ละรายจึงนับเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะร่างกายของแต่ละคนล้วนมีความต่างด้านพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และการใช้ชีวิต...

  • วันฮีโมฟีเลียโลก World Haemophilia Day

    วันฮีโมฟีเลียโลก 2564 ความท้าทายของโรคเลือดออกง่ายในยุคโควิด และอนาคตการรักษาผู้ป่วยในประเทศไทย

    ประเทศไทย – วันฮีโมฟีเลียโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 17 เมษายนของทุกปี เป็นวันที่ทั่วโลกร่วมกันรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักในหมู่ประชาชนทั่วไปและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถึงความท้าทายในการใช้ชีวิตของผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย (Haemophilia) หรือ โรคเลือดออกง่ายหยุดยาก เพื่อให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ผู้ป่วยยังต้องเผชิญอุปสรรคในการเข้าถึงการรักษาเนื่องจากการไปโรงพยาบาลอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะสัมผัสเชื้อได้ โรคฮีโมฟีเลีย จัดเป็นโรคหายาก โดยสหพันธ์ฮีโมฟีเลียโลก (World Federation of Hemophilia) ได้ประมาณการจำนวนผู้ป่วยทั่วโลกไว้ราว 320,000 คน [1] และในประเทศไทยคาดว่ามีจำนวนผู้ป่วยอยู่ที่ 5,750 คน แต่กลับมีผู้ป่วยฮีโมฟีเลียที่ลงทะเบียนอย่างเป็นทางการ (Thailand Hemophilia Registry) เพียง 2,138 ราย ซึ่งวัดเป็นสัดส่วนประมาณ 37% ของผู้ป่วยทั้งหมด [2] ส่วนผู้ป่วยที่เหลืออีกกว่า 62% อาจเป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย หรือแสดงอาการเล็กน้อยถึงปานกลางเท่านั้น จึงหมายความว่ายังมีผู้ป่วยอีกมากที่ไม่สามารถเข้าถึงการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพได้ อาการของโรคฮีโมฟีเลียสังเกตเห็นได้ตั้งแต่ผู้ป่วยมีอายุน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นรอยฟกช้ำบนผิวหนัง อาการเลือดออกในกล้ามเนื้อและข้อต่อ...

  • egg freezing การฝากไข่

    สาวยุคใหม่เน้นมีลูกเมื่อพร้อม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะ “การฝากไข่” ช่วยได้ ยิ่งอายุน้อยยิ่งเห็นผล

    ผลวิจัยทางการแพทย์หลายแห่งชี้ชัดว่าวัยที่เหมาะสมกับการมีลูกมากที่สุดคือช่วงอายุ ระหว่าง 20-35 ปี เพราะโอกาสเสี่ยงต่อการแท้งมีน้อย และยังสามารถคลอดได้ง่ายโดยไม่ต้องพึ่งพาการผ่าคลอดที่ต้องใช้เวลาพักฟื้นนานกว่า การคลอดแบบธรรมชาติ แต่ด้วยการใช้ชีวิตในปัจจุบันของหนุ่มสาวช่วงอายุดังกล่าว มักจะเป็นช่วงเวลาที่พวกเขากำลังสนุกสนานกับการทำงาน และเริ่มเก็บเกี่ยวประสบการณ์ใหม่ๆ คู่แต่งงานจึงยังไม่พร้อมที่จะมีลูกและตัดสินใจมีลูกช้าลง “การฝากไข่ หรือ Egg Freezing” จึงเข้ามาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับสาว ๆ ที่ต้องการมีลูก และต้องการสร้างครอบครัวเมื่อมีความพร้อมเต็มที่ นายแพทย์สมเจตน์ มณีปาลวิรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายแพทย์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลเจตนิน กล่าวว่า การฝากไข่ หรือ การแช่แข็งไข่ คือ การเก็บไข่ไว้ในวันที่ไข่ยังมีคุณภาพดีเพื่อนำไปใช้ในวันที่สาวๆ...

  • ยาสามัญประจำการท่องเที่ยว

    10 ยาสามัญประจำการท่องเที่ยว ไม่รู้ถือว่าพลาด!!

    ทะเล-ทะเล๊-ทะเล… หยุดยาวทั้งทีการเดินทางต้องมี อีเว้นอัพรูปรัวๆ ต้องมา ได้เวลาแห่งการท่องเที่ยว พาร่างกายออกไปชาร์ตแบต สูดโอโซนให้ฉ่ำปอดแล้ว…นอกจากเสื้อผ้าเก๋ๆ บิกินีแซ่บๆ หมวกปีกกว้าง แว่นกันแดด ครีมกันแดดที่มีค่า PA++++/ SPF50+ เป็นอย่างน้อย ป้องกันผิวครบทั้งจากรังสียูวีเอ และรังสียูวีบี อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ “ยา”!   ลองจินตนาการ อากาศร้อนร้อนอย่างนี้ ซีฟู้ดปาร์ตี้ กับอาหารทะเลสดๆ นานาชนิดอย่าง กุ้ง หอย ปู ปลา หมึกสดย่างตัวโตๆ ฯลฯ พร้อมน้ำจิ้มสุดแซ่บที่เรียงรายมาเป็นคาราวาน อาจส่งผลให้มีปฏิกิริยาอาฟเตอร์ปาร์ตี้เป็นการวิ่งรอกเข้าออกห้องน้ำจนไม่ได้ออกไปไหนกับเพื่อนคนอื่นๆ ก็เป็นได้...

  • เจตนิน Jetanin

    ‘เจตนิน’ ตอกย้ำวิสัยทัศน์ กว่า 3 ทศวรรษ พร้อมขึ้นแท่นผู้นำศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากระดับสากล

    ส่งมอบความสุขเติมความหวังสร้างครอบครัวที่อบอุ่น รพ. เจตนิน ให้บริการด้านการรักษาภาวะมีบุตรยากในประเทศไทย ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับก้าวสู่ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากเฉพาะทางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนานาชาติ เป็นเวลากว่า 25 ปีที่ “โรงพยาบาลเจตนิน” ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก ที่ได้รับการรับรองคุณภาพระดับสากล ยืนหยัดมุ่งมั่นรักษามาตรฐานการรักษาพยาบาลในระดับโลก โดยทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์เป็นที่ยอมรับนักเทคนิคการแพทย์ที่มีทักษะความชำนาญ เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยได้มาตรฐาน รวมถึงการบริการการรักษาด้วยความเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดกระบวนการรักษาเพื่อให้คู่สมรสได้สัมผัสความสุขของการเป็นพ่อแม่อย่างแท้จริง   ในฐานะที่เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ เจตนินมีห้องปฏิบัติการที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงภายในโรงพยาบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาให้มากยิ่งขึ้น และให้แน่ใจว่ามีคุณภาพและมีความปลอดภัยสูงสุดในทุกขั้นตอน ห้องปฏิบัติการเหล่านี้อยู่ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์เฉพาะทาง นักพันธุศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนที่มีทักษะความชำนาญที่ได้รับการรับรองจากสมาคมด้านการเจริญพันธุ์และการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนแห่งยุโรป (European Society of Human Reproduction and Embryology หรือ...

  • บำรุงราษฎร์

    บำรุงราษฎร์ เปิด “ศูนย์เวชศาสตร์การกีฬาและข้อ” พลิกโฉมการดูแลรักษาข้อ และเวชศาสตร์การกีฬาครบจบในที่เดียว

    จากสถานการณ์ระบาดวิทยา องค์การอนามัยโลกได้คาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยกระดูกและข้อเพิ่มขึ้นจาก 400 ล้านคนใน พ.ศ. 2551 เป็น 570 ล้านคนใน พ.ศ. 2563 ในขณะที่ผลสำรวจประเทศไทย พบว่ามีผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อในคนไทย พ.ศ. 2563 มากกว่า 6 ล้านคน แต่สิ่งที่น่ากังวลคือ โรคข้อเสื่อมยังเป็นภาระโรคที่สำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น และเป็นโรคเรื้อรังโรคหนึ่งที่เป็นสาเหตุของความพิการ และการสูญเสียความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย นำไปสู่ภาระพึ่งพิง ซึ่งเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขระดับโลกรวมทั้งประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยที่มีภาวะเกี่ยวกับข้อที่มีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา อุบัติเหตุ หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งปัญหาเกี่ยวกับข้อต่าง...

  • Future Proofing Healthcare

    ‘Future Proofing Healthcare’ ดัชนีเผยความก้าวหน้าของประเทศไทย สู่การเข้าถึงการดูแลสุขภาพ และการรักษาแบบจำเพาะบุคคล

    มุ่งปรับใช้โอกาสให้เป็นประโยชน์ พร้อมแนวทางยกระดับคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ประเทศไทย 18 กุมภาพันธ์ 2564 โครงการ FutureProofing Healthcare ซึ่งประกอบด้วยคณะนักวิชาการชั้นนำผู้ทรงคุณวุฒิ 15 ท่านจากทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้ออกมาแถลงเกี่ยวกับดัชนีประเมินความพร้อมการดูแลสุขภาพและการรักษาแบบจำเพาะบุคคล (Asia-Pacific Personalised Health Index)[1] ซึ่งถือเป็นต้นแบบของการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำเครื่องมือออกแบบนโยบาย ดัชนี้ดังกล่าวประเมินความพร้อมของระบบสุขภาพของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจำนวน 11 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย เพื่อนำมาปรับใช้และพัฒนาการดูแลสุขภาพและการรักษาแบบจำเพาะบุคคล พร้อมส่งมอบการรักษาที่คัดสรรมาให้ตอบโจทย์ผู้ป่วยแต่ละคนได้อย่างตรงจุดและทันท่วงที ดัชนีนี้พัฒนาขึ้นจากฐานข้อมูลสาธารณะที่ครอบคลุมและเชื่อถือได้ ผนวกกับข้อมูลเชิงลึกจากตัวแทนหน่วยงานสาธารณสุขจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และผ่านการตรวจสอบโดยคณะผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านการดูแลสุขภาพ รวมถึง ดร. นเรศ ดำรงชัย ประธานกรรมการบริหาร Genepeutic Bio Co., Ltd และ อดีตผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) โครงการ FutureProofing Healthcare ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโรช...

  • เอสซีลอร์

    ภัยเงียบ! ใกล้ตัวแต่มักถูกละเลย เพราะสุขภาพสายตาเป็นเรื่องที่รอไม่ได้

    เราทุกคนต่างรู้ดีว่าควรตรวจสุขภาพร่างกายของเราเป็นประจำทุกปี แต่น้อยคนที่จะใส่ใจกับการตรวจสุขภาพดวงตา ทั้ง ๆ ที่ดวงตาคืออวัยวะรับสัมผัสที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตมากที่สุด ทำงานให้เราในทุกกิจกรรม แต่กลับได้รับความสนใจน้อยที่สุด บางครั้งดวงตาถูกละเลยจนเกิดโรคลุกลามโดยไม่รู้ตัว ทั้ง ๆ ที่เราสามารถหลีกเลี่ยงอาการของโรคตาได้อย่างง่าย ๆ ด้วยการเลือกใช้เลนส์แว่นตาที่เหมาะสมเพื่อถนอมสุขภาพดวงตาและปกป้องดวงตาจากความเสียหายที่อาจก่อโรคได้ในอนาคต วันนี้เอสซีลอร์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสายตาจะมาให้ความรู้ถึงภัยร้ายที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตาในแต่ละช่วงวัย และชี้ให้เห็นว่าเพราะเหตุใดการดูแลสุขภาพดวงตาจึงยิ่งเร็วยิ่งดี  กลุ่มอายุน้อยกว่า 20 ปี (Gen Z) การตรวจคัดกรองโรคตาในช่วงวัยนี้โดยเฉพาะก่อนวัย 6 ขวบ มีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากเด็กวัยนี้จะยังไม่รู้ว่าการมองเห็นที่ปกติเป็นอย่างไร หากผู้ปกครองไม่ใส่ใจ อาจทำให้เกิดปัญหาถาวรได้ เช่น โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eye) ซึ่งมักเกิดจากภาวะตาเขและสายตาผิดปกติที่ไม่ได้รับการแก้ไข...

error: Content is protected !!