ปัจจุบัน มะเร็งยังคงเป็นปัญหาหลั
ศ. นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวว่า “อย่างที่ทราบกันดีว่ามะเร็งเป็
ศ. ดร. พญ.จิรายุ เอื้อวรากุล ศ. ดร. พญ.จิรายุ เอื้อวรากุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข และรักษาการผอ. ศูนย์การเรียนรู้และวิจัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวว่า “ความก้าวหน้าของสาขามะเร็งวิทยาในปัจจุบันเป็นไปอย่างรวดเร็ว ผ่านการนำเสนอนวัตกรรมการรักษาที่มีประสิทธิภาพและงบประมาณสูงจำนวนมากต่อปี ทั้งนี้ 58% ของนวัตกรรมการรักษาใหม่ที่ได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drugs Administration: FDA) นั้นมีไว้สำหรับโรคที่หายากรวมถึงการรักษาด้านมะเร็งวิทยาเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากมาย แต่โอกาสการเข้าถึงการรักษายังคงเป็นอุปสรรคหลักในประเทศไทยที่ผู้ป่วยต้องเผชิญ โดยมีผู้ป่วยในประเทศจำนวนมากที่ต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เนื่องจากขาดโอกาสการเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่จากกลุ่มนี้มีอายุต่ำกว่า 50 ปี ซึ่งก่อให้เกิดภาระทางระบบสาธรณสุข สังคม และเศรษฐกิจอย่างล้นหลาม นับเป็น 0.4% ของการสูญเสียทาง GDP ด้านผลิตภาพและกำลังแรงงานของประเทศไทย”
หนึ่งในประเด็นหลักของโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (HTA) ได้แก่ ความท้าทายในการประเมินยารักษามะเร็งและผลกระทบของการประเมินแบบเดิมต่อโอกาสการเข้าถึงยารักษาและผลลัพธ์การรักษาของผู้ป่วย แม้ว่าประเทศไทยจะบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าภายใต้แผนประกัน 3 แผน แต่การประเมินยารักษาโรคมะเร็งนั้นยังเป็นความท้าทายหลักที่ประเทศของเราต้องจัดการ ความแตกต่างในการเข้าถึงยารักษามะเร็งที่มีประสิทธิภาพระหว่างแผนประกัน ส่งผลให้อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่มีสิทธิและช่องทางการเข้าถึงที่น้อยกว่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ การประเมินโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ความคุ้มค่า (cost-effectiveness analysis: CEA) และการประเมินเทคโนโลยีทางด้านสุขภาพ (HTA) แบบดั้งเดิมนั้นไม่เอื้ออำนวยต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้ป่วยไทยต้องเผชิญกับอุปสรรคในการเข้าถึงนวัตกรรมและยารักษามะเร็งใหม่ ๆ และการรักษาโรคหายากที่จำกัดและล่าช้า โอกาสการเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพกลายเป็นปัญหาไม่เพียงเฉพาะในประเทศที่มีรายได้ปานกลางถึงต่ำและประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้น แต่ประเทศที่มีกำลังในการจ่ายก็ประสบปัญหานี้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ทั้งในเชิงปฏิบัติและเชิงวิชาการ จึงมีความล้ำหน้ากว่าแนวทาง HTA แบบเดิม เพื่อขยายโอกาสการเข้าถึง รวมถึงวิธีการ HTA แบบใหม่ กลยุทธ์ทางการเงิน กลไกการระดมทุน และแนวทางการเพิ่มมูลค่าของการรักษา (Aspects of Value)
ผศ. ดร. ภญ.สุธีรา เตชะคุณวุฒิ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงภาพรวมของการมียาต้านมะเร็งและการเข้าถึงยาต้านมะเร็งในประเทศไทย เมื่อเทียบกับคำแนะนำของ WHO Model List of Essential Medicines (WHO-EML) และ National Comprehensive Cancer Network (NCCN) ว่า “แม้ว่าจะมียาต้านมะเร็งใหม่ๆ จำนวนมากได้รับการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย แต่พบว่าโอกาสการเข้าถึงยาของผู้ป่วยกลับต่ำถึง 19.2% สำหรับมะเร็งระยะเริ่มต้นบางชนิด และ 5.9% สำหรับมะเร็งระยะลุกลามบางชนิด เนื่องจากไม่ได้ครอบคลุมอยู่ในสิทธิการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจึงมีผู้ป่วยเพียง 0-20% เท่านั้นที่สามารถเข้าถึงการรักษามะเร็งในระยะลุกลามได้”
“ในแง่ของการเข้าถึงยานวัตกรรม ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ทราบดีว่าประชาชนจำนวนมากยังคงประสบปัญหาในการเข้าถึงยา เนื่องจากไม่มีประกันที่เหมาะสม ดังนั้นจึงมีผู้คนจำนวนมากที่ต้องเสียชีวิตเพราะไม่สามารถเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพ นอกจากในแง่ของการรักษาแล้ว ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองและการวินิจฉัยที่ทันท่วงที เรามีโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งในพื้นที่ชนบทโดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูง โดยตลอดโครงการคัดกรองมะเร็งในชุมชนของเรา เราพบว่าในชุมชนที่มีอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งที่สูงนั้น มักไม่มีมาตรการหรืออุปกรณ์การตรวจคัดกรองที่เหมาะสม เพราะพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างทั่วถึงด้วยงบประมาณจำกัด ดังนั้น เราควรมุ่งเน้นทั้งในแง่ของการเข้าถึงยานวัตกรรมและให้ความสำคัญกับการเข้าถึงการตรวจคัดกรอง และการวินิจฉัยมะเร็งที่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน” ศ.ดร.พญ. จิรายุ เอื้อวรากุล กล่าวเสริม
ในแง่ของแนวทางที่ใช้ในระดั
ผศ. ดร. ราวฟาง (จัสมิน) ผวู คณะกรรมการ ISPOR มหาวิทยาลัยการแพทย์ไทเป ได้ยกตัวอย่างประสบการณ์ในประเทศไต้หวัน โดยกล่าวว่า “ประเทศไต้หวันประสบความสำเร็จในการทำให้ผู้ป่วยมะเร็งสามารถเข้าถึงการรักษาด้วยยานวัตกรรมได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากการพิจารณายามะเร็งไม่จำเป็นต้องผ่านเกณฑ์วิเคราะห์ความคุ้มค่า แต่พิจารณาจากผลกระทบด้านงบประมาณเป็นหลัก และมีการใช้แนวทางใหม่ๆเช่นการทำข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้ยาและการกระจายความเสี่ยงระหว่างภาครัฐและบริษัทภาคเอกชน (Risk sharing agreement and Managed entry agreement)”
“ในขณะที่การวัดภาระโรคด้วยเกณฑ์ ปีสุขภาวะ (Quality-adjusted life year:QALY) นั้นยังมีอีกหลายแง่มุมที่อาจไม่ครอบคลุม เช่นด้านความเท่าเทียม ผลกระทบต่อผู้ดูแลผู้ป่วย ทั้งนี้นักวิจัยควรขยายแนวทางที่นอกเหนือจากการวัดปีสุขภาวะโดยเน้นการศึกษาที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางมากขึ้น” รศ. ดร. สุรฉัตร ง้อสุรเชษฐ์ มหาวิทยาลัยออเบิร์น กล่าวถึงความสำคัญของผลลัพธ์ที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (patient-centric outcome)
การประชุมสัมมนาครั้งนี้ได้มีการหารือระหว่าง ผู้กำหนดนโยบาย แพทย์ นักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข และนักวิจัยของไทย เพื่อเจาะลึกถึงกลไกต่าง ๆ ที่เป็นที่ยอมรับใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และทั่วโลก ในการประเมินและกำหนดนโยบบายเบิกจ่ายสินทรัพย์ใหม่ของสาขามะเร็งวิทยา เพื่อร่วมกันเป็นพลังในการเพิ่มโอกาสเข้าถึงและลดความล่าช้าของการรักษาของผู้ป่วย