SACICT จิตอาสา สู่การพัฒนาชุมชนหัตถกรรมที่ยั่งยืน

SACICT จิตอาสา พัฒนาอาชีพ

SACICT เตรียมต่อยอดโครงการ “SACICT จิตอาสา” สู่การพัฒนาเป็นชุมชนหัตถกรรมที่ยั่งยืน ครั้งที่ 1 จ.เชียงราย

สืบเนื่องจากการลงพื้นที่ในการทำกิจกรรม “SACICT จิตอาสา” เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพและรายได้ แก่ผู้ที่ต้องการโอกาสจากสังคม เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ คนชายขอบ และกลุ่มประชาชนในสามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งได้จัดกิจกรรม ครั้งที่ 1 ที่ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย นั้น นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ ได้หารือร่วมกับภาคีเครือข่ายท้องถิ่น อาทิ นายประสิทธิ์ โรยพริกไทย หัวหน้าฝ่ายพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จากศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จ.เชียงราย นายกระมล อุปะรัตน์ สมาชิกสภาเทศบาลเวียงสรวย และ น.ส.ธมนณัฏฐ์ จอมเจดีย์ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเวียงสรวย เพื่อหารือแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกัน

SACICT จิตอาสา พัฒนาอาชีพ

นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กล่าวว่า ในโอกาสมหามงคล พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและถวายความจงรักภักดี น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว SACICT จึงได้จัดกิจกรรม CSR ภายใต้ชื่อโครงการ “SACICT จิตอาสา” มี 2 รูปแบบ คือ “SACICT จิตอาสา พัฒนาอาชีพ”เพื่อการสร้างอาชีพแก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคม เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มคนชายขอบ และกลุ่มประชาชนในสามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งจะจัดกิจกรรมทั้งสิ้น 8 ครั้งใน 4 ภูมิภาค และกิจกรรมที่สองคือ “SACICT จิตอาสา นำพาความสุข” เพื่อสร้างการรับรู้ให้สังคมไทยว่า งานศิลปหัตถกรรมสามารถสร้างความสุข ฝึกสมาธิ และช่วยบำบัดความเครียดแก่กลุ่มบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือเยียวยา เช่น กลุ่มผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ตามสถานพยาบาลในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 2 ครั้ง

ทั้งนี้ SACICT ภาคภูมิใจกับการจัดกิจกรรมครั้งนี้ นอกจากสะท้อนความจงรักภักดี และความเทิดทูนในสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว ยังสะท้อนจิตวิญญาณของจิตอาสา ซึ่งคณะจิตอาสา สื่อมวลชน และผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้และแบ่งปันองค์ความรู้งานศิลปหัตถกรรมไทย และมีความสุขจากการเป็นผู้ให้อย่างแท้จริง” นางอัมพวัน กล่าว

 SACICT จิตอาสา พัฒนาอาชีพ

การประเดิมจัดกิจกรรม “SACICT จิตอาสา พัฒนาอาชีพ” ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 16-17 พฤษภาคม 2562 ตามรอยการพัฒนา “ผ้าปัก” กับชุมชนชายขอบ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสร้างอาชีพและรายได้แก่กลุ่มชาติพันธุ์ผ่านการสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทย โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรจิตอาสา ครูสิริวัฑน์ เธียรปัญญา ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2554 บรรยายให้ความรู้ตลอดการจัดกิจกรรม โดยวันแรก (16 พ.ค. 62) เริ่มด้วยการนำชมพิพิธภัณฑ์หอพลับพลาเจ้าดารารัศมี จากนั้นร่วมศึกษาดูพัฒนาการของผลิตภัณฑ์ผ้าปัก ณ ร้านกองหลวง เชียงราย ในช่วงบ่ายศึกษาศิลปวัฒนธรรมล้านนา ร่วมสักการะพระแก้วมรกต ณ วัดพระแก้ว เชียงราย

SACICT จิตอาสา พัฒนาอาชีพ
SACICT จิตอาสา พัฒนาอาชีพ

ในวันที่สอง (17 พ.ค. 62) นำสู่ชุมชนชายขอบ หนองขำ (ลาหู่) และ โป่งป่าแขม (อาข่า) ต.แม่สรวย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เพื่อร่วมทำกิจกรรม “SACICT จิตอาสา” โดยจัดให้มีการบรรยายการเรียนรู้ “ผ้าปัก” แก่ชาวบ้านและชนเผ่าพื้นเมือง โดย ครูสิริวัฑน์ เธียรปัญญา พร้อมกันนี้ครูยังได้เผยความรู้สึกที่ได้เป็นครูจิตอาสาในครั้งนี้ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและความประทับใจปิดท้ายกิจกรรมอย่างอบอุ่น

SACICT จิตอาสา พัฒนาอาชีพ

สำหรับพื้นที่ ต.แม่สรวย อ. แม่สรวย จ.เชียงราย เป็นพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ เผ่า ลาหู่ อาข่า มูเซอ และเย้า ซึ่งมีจำนวนประมาณ 100 หลังคาเรือน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกสัปปะรด ข้าวโพด และถั่วลิสง เมื่อว่างเว้นจากการทำการเกษตร ผู้หญิงจะตัดเย็บเสื้อผ้าในแบบชนเผ่าโดยยังคงเอกลักษณ์ของตนเอง มีทั้งทำขึ้นเพื่อใช้เองและนำมาจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวและพ่อค้าคนกลาง แต่เนื่องจากสินค้าเป็นแบบดั้งเดิม การใช้วัตถุดิบ การออกแบบ และสีสัน รวมทั้งช่องทางการจัดจำหน่ายยังมีจำกัด จึงทำให้ไม่สามารถประกอบเป็นอาชีพสร้างรายได้ที่ต่อเนื่องได้

SACICT จิตอาสา พัฒนาอาชีพ
SACICT จิตอาสา พัฒนาอาชีพ
SACICT จิตอาสา พัฒนาอาชีพ

SACICT จึงมีแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือไปสู่การผลักดันให้เป็นชุมชนหัตถกรรม เพื่อสร้างความยั่งยืนในการประกอบอาชีพด้านศิลปหัตถกรรม โดยจะสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้แก่ชนเผ่าในพื้นที่ โดยจะนำครูฯ และทายาทฯของ SACICT ในหลากหลายงานศิลปหัตถกรรมมาให้ความรู้เพื่อพัฒนาให้สามารถทำเป็นอาชีพได้ในระยะยาว อาทิ งานดุนโลหะ งานจักสาน และงานผ้าอื่นๆ รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบและแปรรูปสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด รวมทั้งจะได้จัดหาช่องทางการตลาดใหม่ๆ

SACICT จิตอาสา พัฒนาอาชีพ
SACICT จิตอาสา พัฒนาอาชีพ

ช่วยให้เกิดการสร้างวัฏจักรของงานศิลปหัตถกรรมที่ยั่งยืน ผลักดันให้งานศิลปหัตถกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม สร้างคุณค่าและมูลค่าได้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยแก้ปัญหาความยากจน สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างความเท่าเทียมในสังคม
ลดความเหลื่อมล้ำของกลุ่มผู้ที่ขาดโอกาสทางสังคม เช่น คนชายขอบ กลุ่มชนเผ่าชาติพันธุ์ต่างๆ ให้มีโอกาสในการเข้าถึงองค์ความรู้ด้านศิลปหัตถกรรม รวมทั้งยังเป็นการเสริมสร้างสถาบันครอบครัวให้มีความเข้มแข็ง ไม่ต้องละทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิด ยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างให้เศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคงพร้อมกับตอกย้ำให้สังคมไทยเห็นในคุณค่าทางจิตใจของงานศิลปหัตถกรรมสามารถช่วยลดปัญหาสังคม

SACICT จิตอาสา พัฒนาอาชีพ

“SACICT จิตอาสา” การให้ที่ยั่งยืน…ผ่านมุมมองผู้รับกลุ่มชาติพันธุ์

อาเบอ เยเบีย ชาวเขากลุ่มอาข่าลอมิ หมู่16 ต.แม่สรวย จ.เชียงราย กล่าวด้วยรอยยิ้ม ถึงโครงการ “SACICT จิตอาสา พัฒนาอาชีพ” ว่า “ขอบคุณชาว SACICT และครูสิริวัฑน์ เธียรปัญญา ที่ให้โอกาสชนเผ่าอย่างพวกเรา เข้ามาหาถึงพื้นที่ วันนี้ได้มาเรียนรู้การปักผ้าแบบลูกโซ่ จริงๆแล้วผู้หญิงชาวอาข่าเย็บปักถักร้อยเป็นแทบทุกคน ทุกคนต้องทำเครื่องแต่งกายประจำเผ่าไว่สวมใส่เองกันอยู่แล้ว ซึ่งใช้เทคนิคมากมายหลายแบบที่สอนๆต่อๆกันมา ได้เห็นแบบผ้าซิ่นที่ครูนำมาให้ดูว่า ต่อไปจะให้พวกเราช่วยปัก โดยครูจะเป็นผู้ออกต้นทุนวัตถุดิบให้ก่อน พวกเราลงแรงอย่างเดียว ลวดลายไม่ยาก สามารถทำได้แน่นอน ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้มาจุนเจือครอบครัว จากการทำการเกษตรเล็กๆน้อยๆ ให้มีกินมีใช้มากขึ้น”

SACICT จิตอาสา พัฒนาอาชีพ
SACICT จิตอาสา พัฒนาอาชีพ

ดอกแก้ว ณ คีรี ชาวเขาลาหู่เหลือง มาจากหมู่ 9 ต.แม่สรวย จ.เชียงรายบอกว่า “ตอนนี้ได้รวมกลุ่มผู้หญิงกันได้ 16 คนมาร่วมโครงการนี้ ก่อนหน้าก็ทำอาชีพเลี้ยงสัตว์ปลูกพืชพื้นถิ่น และทำสินค้าเสื้อผ้ากระเป๋า มีทั้งชุดทั้งผู้ชายและผู้หญิงที่มีเอกลักษณ์ลาหู่ ทำแล้วขายได้บ้างไม่ได้บ้าง ถ้าสามารถมีคนเข้ามาช่วยสอนว่า ตลาดต้องการอะไร แนะนำเรื่องการออกแบบตัดเย็บและแปรรูป ซึ่งหาก SACICT เข้ามาช่วยพัฒนาต่อยอดให้ จะทำให้กลุ่มชาติพันธุ์เกิดการรวมกลุ่มเป็นชุมชนหัตถกรรมได้ในอนาคต ซึ่งจะให้ความร่วมมือร่วมใจอย่างเต็มที่ค่ะ”

SACICT จิตอาสา พัฒนาอาชีพ
SACICT จิตอาสา พัฒนาอาชีพ
SACICT จิตอาสา พัฒนาอาชีพ

การให้ที่ยั่งยืน คือการให้ชุมชนสามารถมีอาชีพ มีรายได้ในระยะยาว ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มั่งคง กลุ่มชาติพันธุ์สามารถยืนด้วยตนเองได้อย่างเข้มแข็ง ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น จึงเป็นการให้ที่ทั้งผู้ให้และผู้รับต่างภาคภูมิใจ

Leave a Reply

error: Content is protected !!